การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก

Main Article Content

ปรีชา ตั้งสุขขีย์ศิริ

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการสถานศึกษาในเรื่องของสุขภาพจิตกับนักเรียนรุ่นใหม่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจากการศึกษาปัญหาทางด้านภาวะสุขภาพจิตและผลกระทบด้านจิตใจของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จากการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) พบว่า            มีนักเรียนที่ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์จนถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่ง “การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิตในนักเรียนรุ่นใหม่ของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก” สามารถพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่ในด้านความฉลาดทางอารมณ์เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพจิต ผ่านองค์ประกอบ               3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับบุคคลอื่น                 (2) การเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ตนเองในสภาวะต่างๆ โดยจะทำให้นักเรียนรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันที่มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ผ่านการเอาใจใส่และให้คำแนะนำจากครูที่ปรึกษาและครูผู้สอน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องร่วมมือกัน มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนรุ่นใหม่อย่างเต็มกำลังความสามารถผ่านการดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลกอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[[1] โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2566). จิตแพทย์แนะ จัดการความเครียดรับมือ COVID-19 ไม่ให้ป่วยใจ. https://www.bangkokhospital.com/content/psychiatric-guidance-on-stress-management-trading-covid-19

ยูนิเซฟ. (2564). ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้โควิด-19 ส่งผลให้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง. https://www.unicef.org/thailand/th/press-releases/ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้โควิด-19.

ณัฏฐิณี สังขวรรณและ อัจฉรา ปุราคม. (2566). ภาวะสุขภาพจิตและผลกระทบด้านจิตใจของนักเรียนครูและผู้ปกครอง จากการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19). วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน 2566.

กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 ประจำ ปีงบประมาณ 2566.

Gardner, H. (1983). Frames of mind: The theory of multiple intelligences. NYC: n.p.

Salovey, P., Mayer, J. D., Goldman, S. L., Turvey, C., & Palfai, T. P. (1997). Emotional attention, clarity and repair: exploring emotional intelligence using the Trait Meta-Mood Scale. In J.W. Pennebaker (Ed.), Emotion, disclosure and health

(pp. 125-154). Washington, D.C.: American Psychological Association.

Goleman, D. (2001). Emotional intelligence: Perspectives on a theory of performance.In C. Cherniss, & D. Goleman (Eds.), The emotionally intelligent workplace. USA: Amazon.

Carolyn Saarni, (1999). The Development of Emotional Competence. Can Child Adolesc Psychiatr Rev, 13(4), 121.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, “คู่มือ EQ ความฉลาดทางอารมณ์(เล่มเล็ก),” คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, เข้าถึง 21 พฤษภาคม 2024, https://dmh-elibrary.org/items/show/1199

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.