จากธรรมชาติสู่ห้องเรียน : ดินกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย (FROM NATURE TO CLASSROOM: SOIL AND EARLY CHILDHOOD DEVELOPMENT)

Authors

  • ชนารดี พรมทอง (Chanaradee Promthong) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • โสภิดา ศรีคัมโพธิ์ (Sophida Srikhampho) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนัญญา ถาตุ้ย (Anutida Pokpad) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนุธิดา ปกปัด (Ananya Thatui) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อรกานต์ เพชรคุ้ม (Orrakarn Pechkoom) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ (Manita Leethochawalit Atthanuphan)
  • ธิดาพร คมสัน (Thidaporn Komsan) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

เด็กปฐมวัย, ดิน

Abstract

ทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีคุณค่ามากมาย เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์           ในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างหลากหลายรูปแบบ คือ ทรัพยากรดิน ซึ่งดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ง่ายและเหมาะกับการนำมา   จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการนำดินมาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์อย่างเหมาะสม  ในบทความนี้ได้กล่าวถึงความหมายของดิน ความสำคัญของดินต่อเด็กปฐมวัย คุณสมบัติของดินประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะแก่การทำกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย การประยุกต์ใช้ดินในกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย และประโยชน์ของกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยบนพื้นฐานของขอบข่ายกิจกรรมประจำวันที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

Downloads

Published

2021-08-31

Issue

Section

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ