การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (The Development of Infographic in Home Economics Subject for Grade 1 )

Authors

  • ยุวรี อยู่เจริญ (Yuvari Yoocharoen) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

Keywords:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์,การงานอาชีพ,การสอนด้วยภาพ,การวิเคราะห์ภาพ,การสอนประถมศึกษา

Abstract

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกรายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). จำนวน 36 คน ได้มาด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. สื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1  แบบประเมินคุณภาพสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1  โดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน หลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การหาค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ t-test แบบ Dependent Samples 

            ผลการวิจัย พบว่า 

  1. ผลประสิทธิภาพผลการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ตามเกณฑ์ E1/E2 89.25/87.50 
  2. ผลการประเมินสื่อโดยผู้เชียวชาญ ได้ประเมินคุณภาพการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โดยผู้เชี่ยวชาญ  ทั้ง 3 ด้านอยู่ในเกณฑ์ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน  0.32
  3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่า t คือ 15.61, df = 35ความก้าวหน้าทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก รายวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 36 คน  พบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมของ ความพึงพอใจเท่ากับ 4.56  ซึ่ง ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน  0.62  อยู่ในระดับ  มากที่สุด 
  5.  

Downloads

Published

2021-03-24

Issue

Section

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ