ความเด่นด้านเนื้อหาและกลไกแสดงความเด่นทางภาษาในราชกิจจานุเบกษา ที่ประกาศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Prominence of Content and Linguistic Device Mechanism in the Royal Gazette Announced in the Situation of the Epidemic of COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ไท้ศิริพัฒน์ ประมวล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนพล ศิริชาติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ขจิตา ศรีพุ่ม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กลไกทางภาษา, ความเด่น, โควิด-19, ราชกิจจานุเบกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเด่นด้านเนื้อหาและกลไกทางภาษาที่ใช้ในราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารราชกิจจานุเบกษาประเภทข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จำนวน 24 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ความเด่นด้านเนื้อหาในราชกิจจานุเบกษาที่แสดงด้วยกลไกทางภาษา 3 กลไกสำคัญ ซึ่งเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) กลไกการซ้ำความ แสดงความเด่นด้านเนื้อหา 3 ประการ ได้แก่ 1.1) การห้ามทำกิจกรรมที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 1.2) การผ่อนคลายการห้ามทำกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติดังเดิม 1.3) การระบาดของโรคโควิด–19 เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเด็ดขาด 2) กลไกการแสดงใจความสำคัญ แสดงความเด่นด้านเนื้อหา 4 ประการ ได้แก่ 2.1) หลักการปฏิบัติตามข้อกำหนดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 2.2) มาตรการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 2.3) หลักการดำเนินงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 2.4) หลักการป้องกันโรคโควิด–19 และ 3) กลไกการแสดงใจความสำคัญและการเรียงลำดับหัวเรื่อง แสดงความเด่นด้านเนื้อหา 1 ประการ ได้แก่ แผนการจัดการโรคโควิด–19 ซึ่งกลไกเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่รัฐบาลออกข้อกำหนดผ่านราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้เป็นหลักทั่วไปในการปฏิบัติให้แก่ประชาชนเพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ได้

References

Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations, B.E. 2548 (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548). (2005, July 16). Royal Thai Government Gazette (No. 122 chapter 58 a, pp. 1-9). [Online]. Retrieved May 23, 2022 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/laws/laws_08.pdf

Phalinkul, Pornpimon. (1998). Compare the Methods for Marking Prominence between Translated and Original Thai Documentary Programs on Television (การศึกษากลไกแสดงความเด่นของข้อความ: เปรียบเทียบสารคดีแปลและสารคดีไทยในรายการโทรทัศน์). Master’s dissertation, Thammasat University, Bangkok, Thailand.

Prasongngeon, Ekkapong. (2002). The Usage and Style of Language in the Correspondence between Prince Narisaranuwatiwong and Phya Anumanrajadhon (การศึกษาการใช้ภาษาของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และพระยาอนุมานราชธน ในหนังสือบันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ). Chonburi: Faculty of Humanities and Social Science, Burapha University.

Sripoom, Khajita. (2014). Discourse Prominence in King Rama V’s Proclamations of Slavery Abolition (ความเด่นในประกาศเลิกทาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว). Doctoral dissertation, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

The Secretariat of the House of Representatives. (2020). Thailand Factsheet on Measures and Operations to Coronavirus Disease 2019 Outbreak (สรุปมาตรการและการดำเนินงานของไทยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019). [Online]. Retrieved May 23, 2022 from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20200604141718.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-26

ฉบับ

บท

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ