การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
An Administration on Educational Assurance, Non–Formal Private Schoolsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวางแผนงาน ด้านการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบประเมินผล ด้านการพัฒนาปรับปรุง และด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพครู ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้ ด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา และด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก ของโรงเรียนเอกชนนอกระบบในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ๓๐ คนและครูหรือผู้สอน ๑๙๗ คน ในจำนวน ๓๐ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One Way ANOVผลการวิจัยพบว่า ๑. การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานประกันคุณภาพอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านการวางแผนงาน ด้านการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบประเมินผล และด้านการพัฒนาปรับปรุง ๒. คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านคุณภาพครู ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก และด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา ๓. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ ประเภทโรงเรียน ผลการเปรียบเทียบ เมื่อจำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียงด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำแนกตาม อายุ และตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จำแนกตามระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียง ๓ ด้าน คือ ด้านการวางแผนงาน ด้านการตรวจสอบประเมินผล ด้านภาพรวม จำแนกตามประเภทโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียงด้านการพัฒนาปรับปรุงเท่านั้น ๔. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ ประเภทโรงเรียน ผลการเปรียบเทียบ เมื่อจำแนกตาม เพศ และ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียง ๒ ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา และภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียงด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ยกเว้นด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประเภทโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ใน ๔ ด้าน คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้ ด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก และด้านภาพรวม