การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • Thanyalak Sawandee Master of Public Administration Program in Public Administration Faculty of Social Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

Administrative, Sarayaniyadhamma, Sub-District Administration Organization

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางในส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สนับสนุน การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)เพื่อการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD.)  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured In-depth Interview) เก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยองโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยองด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ด้านการร่วมรับผลประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการตรวจสอบ ประเมินผลอยู่ในระดับมาก

             2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

            3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธในองค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง คือ การมีผลประโยชน์ส่วนตน และพวกพ้องเป็นสาเหตุที่ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมากที่สุด ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องทำมาหากินเพื่อหารายได้จึงไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม ประชาชนต้องช่วยตรวจสอบดูแลการรักษาทรัพยากรของพื้นที่ที่มีอยู่ การบริหารงานภาครัฐ ภาคประชาชน และเอกชนควรสร้างความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ต้องรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ดีมีคุณประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร และข้อเสนอแนะ พบว่า การสร้างค่านิยมร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ควรปลูกจิตสำนึกในการรักท้องถิ่นและธรรมชาติ การนำหลักธรรมมาใช้ในการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม การเป็นมิตรกับธรรมชาติ จัดโครงการอบรมอาสาสมัครในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)