ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของสำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี
คำสำคัญ:
Satisfaction, Service According, Sangahavatthus Dhammaบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลเมืองชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลเมืองชลบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของของเทศบาลเมืองชลบุรี จำแนกตามสถานภาพของบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการให้การบริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลเมืองชลบุรี โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 390 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 52.82 อายุ ของประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 36 – 50 ปี ระดับการศึกษา ของประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่จบการศึกษา มัธยมศึกษาหรือเที่ยบเท่า คิดเป็นร้อยละ 65.90 อาชีพ ของประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ ของประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่รายได้ 9,001 - 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.82 มีความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของเทศบาลเมืองชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.62) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตาม หลักสังคหวัตถุธรรม ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=3.75) ในด้านสมานัตตตา ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=3.41) ในด้านปิยวาจา เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่าบุคคลที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้การบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ อายุ อาชีพ และรายได้ มีความพึงพอใจไม่แตกต่าง ปัญหาและอุปสรรคในการให้การบริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของเทศบาลเมืองชลบุรี ประชาชนที่มาขอรับบริการยังไม่เข้าใจในขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และมีปัญหาในเรื่องเจ้าหน้าที่พูดจาไม่ไพเราะ เจ้าหน้าที่ไม่กระตือรือร้นในการช่วยเหลือ ตลอดจนเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ ผลที่ได้คือประชาชนที่มารับการบริการไม่เกิดความประทับใจ แนวทางการปรับปรุงการให้การบริการประชาชนของเทศบาลเมืองชลบุรี คือ เจ้าหน้าที่ควรพัฒนาด้านการบริการอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น ควรมีการอบรมด้านคุณธรรมโดยนำหลักธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะหลักสังคหวัตถุธรรม อันได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา คือ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน และวางตัวเหมาะสม มาใช้ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ รวมทั้งเน้นการบริการที่สามารถนำมาซึ่งความพึงพอใจแก่ผู้รับการบริการและส่งผลย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการ โดยทำให้ประชาชนผู้รับบริการรู้สึกว่าประทับใจในการให้บริการ