การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • Vitoon Bunthirak Faculty of Social Sciences Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

People, Participation, Development planning, Municipality

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของประชาชนในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 375 คนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F – test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

            ผลการวิจัย พบว่า

            1.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (= 3.53) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 3.45) ด้านการมีส่วนร่วมในการร่วมปฏิบัติการ ( = 3.30) และด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ( = 3.29)

  1. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และจำนวนปีที่อาศัยอยู่ต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมแตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีเพศและการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
  2. ปัญหา อุปสรรคในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์พบว่า การปฏิบัติตามแผนเป็นการดำเนินการของเทศบาลโดยพนักงานและเจ้าหน้าที่ของเทศบาล คนในชุมชนไม่มีโอกาสเป็นผู้จัดทำแผน การรับผลประโยชน์ของการจัดทำโครงการแผนงานต่างๆ ประชาชนไม่รู้เห็นว่ามีการจัดทำแผนพัฒนากันอย่างไร ส่วนใหญ่ผลประโยชน์เกิดกับประชาชนน้อย ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมกับทางเทศบาลโดยตรง แต่ทุกคนจะติดตามผลอยู่ในใจอยู่แล้วประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลน้อย

     สำหรับข้อเสนอแนะพบว่า ควรให้โอกาสบุคคลในหมู่บ้านชุมชนเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการของเทศบาล ประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น ควรมีคณะกรรมการดำเนินงานหรือปฏิบัติตามแผนโดยให้มีคนในชุมชนร่วมเป็นคณะกรรมการ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารวางแผน การติดตามและประเมินผลโดยไม่ได้มีส่วนร่วมกับทางเทศบาลกับการแก้ปัญหาต่างๆ  ให้กรรมการชุมชนเข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์มากขึ้นเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการตรวจสอบติดตามและประเมินผล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)