การจัดการเชิงนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ที่มีประสิทธิผล

ผู้แต่ง

  • กษมาพร ขจรบุญ Ramkhamhang University

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงนโยบาย, พื้นที่สีเขียว, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษานโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการตามนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร และเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิผล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ส่วนการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มระดับนโยบาย กลุ่มระดับปฏิบัติ และกลุ่มระดับพื้นที่ รวม 21 คน ผลการวิจัยพบว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครมีการกำหนดเป็นนโยบายหลักของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่นโยบายนั้นก็มีความแตกต่างขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละสมัย โดยมีลักษณะการกำหนดนโยบายแบบบนลงล่าง ให้งบประมาIสนับสนุน และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ให้มีพื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้สัดส่วนที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน โดยพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคเกิดจากความชัดเจนของนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบังคับใช้กฎหมาย การสื่อสาร และงบประมาณ ทำให้นโยบายที่กำหนดมาไม่มีความครอบคลุมปัญหาที่แท้จริง สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการเชิงนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ที่มีประสิทธิผล ควรแก้ปัญหาด้านความชัดเจนของนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงต้องสร้างกรอบแนวทางในการพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ใช้พื้นที่สีเขียวมีส่วนร่วม ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับช่องทางการสื่อสารให้มีความชัดเจน และสนับสนุนงบประมาณในด้านพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอและเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)