การพัฒนาเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการส่งออกทุเรียนไทย

ผู้แต่ง

  • Nateepat Wongsirichat Faculty of Political Science and Law Burapha University
  • สุปราณี ธรรมพิทักษ์
  • พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต

คำสำคัญ:

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย; ศักยภาพ; การส่งออกทุเรียน

บทคัดย่อ

      บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการส่งออกทุเรียนไทย 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการเพิ่มศักยภาพการส่งออกทุเรียนไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ข้าราชการที่กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติจำนวน 9 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการภาคเอกชน จำนวน 8 คน กลุ่มที่ 3  นักวิชาการ จำนวน 5 คน และจัดกลุ่มสนทนา เกษตรกรชาวสวนทุเรียน จำนวน 28 คน  โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาแบบหน่วยบริบท

        ผลการศึกษาพบว่า 1. ศักยภาพการส่งออกทุเรียนไทย ประกอบด้วย 1) ด้านเงื่อนไขปัจจัยการผลิตมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านทรัพยากรกายภาพ ด้านการขนส่ง 
2) ด้านเงื่อนไขอุปสงค์มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านขนาดความต้องการและรูปแบบการเติบโต และด้านความต้องการทุเรียนที่ได้มาตรฐาน 3) ด้านอุตสาหกรรม และปัจจัยอื่น ๆ ที่สนับสนุนมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านระเบียบพิธีสาร ด้านการมีสารพันธุ์ทุเรียนที่หลากหลาย ด้านโรงคัดบรรจุ และด้านโรงงานแปรรูป 4) ด้านบริบทการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจมี 4 ด้านได้แก่ ด้านการใช้เทคนิคให้ออกผลช้า ด้านการปลูกทุเรียนตามมาตรฐาน ด้านการปลูกทุเรียนตามความต้องการ ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ 5) ด้านนโยบายรัฐบาลมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐาน GAP ด้านมาตรฐาน GMP  ด้านนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ และด้านนโยบายส่งเสริมและสนับสนุน 6) ด้านโอกาส ประกอบด้วย ด้านการตลาด 2. ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรจัดทำยุทธศาสตร์ผลไม้เศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน หน่วยงานภาครัฐควรวางแผนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าส่งออกทุเรียน เร่งศึกษาและจัดทำพิธีสารด้านเส้นทางการขนส่ง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ควรจัดทำมาตรฐานสินค้าทุเรียน ให้มีมาตรฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)