แนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี

ผู้แต่ง

  • หทัยกาญจน์ ทวีทอง สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี , แรงงานฝีมือไทย , นโยบายแรงงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี และ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาแรงงานฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน 3 ท่าน ผู้บริหารอำนวยการระดับสูงกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 3 ท่าน ผู้บริหารอำนวยการระดับต้นกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 3 ท่าน บริหารระดับสูงกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมจำนวน 3 ท่าน ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติจำนวน 1 ท่าน และ รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติจำนวน 2 ท่าน และผู้บริหารระดับสูงอุดมศึกษาภาครัฐที่เป็นส่วนราชการจำนวน 2 ท่าน รวมทั้งสิ้น 17 ท่าน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลให้การตีความ หรือแปลความจากบทสัมภาษณ์ ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า

          ตามวัตถุประสงค์ข้อที่1 เพื่อศึกษาแนวนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานไทบเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี  ผลการศึกษาพบว่าแนวนโยบายด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ประกอบด้วยแนวทาง 6 ด้านได้แก่ (1) การพัฒนาสมรรถนะฝีมือแรงงานไทยด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ และระบบดิจิตอลในการตอบสนองตลาดแรงงานภายในประเทศและต่างประเทศ (2)ความสามารถ (Ability) และความเชี่ยวชาญของแรงงานในการตอบสนองอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (3) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในความรู้ใหม่ๆและเพิ่มทักษะในวิทยาการสมัยใหม่ตลอดเวลา (4) ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม (5) การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าในระดับสูง (6) การพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้รองรับความต้องการของตลาดแรงงานโลก   วัตถุประสงค์ที่2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์  ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการพัฒนาแรงงานฝีมือไปปฏิบัติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ได้แก่ (1) การจัดทำแผนงาน โครงการ และแผนปฏิบัติการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ยุทธศาสตร์ชาติ20ปีและความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ (2)การมีงบประมาณที่เพียงพอกับการที่จะพัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละภาคส่วน (3) หน่วยงานรับผิดชอบมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการนำนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติ (4) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (5) การมีระบบ ติดตาม ควบคุมและการประเมินผล  และจาก วัตถุประสงค์ข้อที่3 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้บรรลุผลสัมฤทธิ์  สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการนำแนวนโยบายการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยไปปฏิบัติ ได้แก่  (1)การที่นายจ้างไม่เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ปรับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงไม่ส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (2)การขาดงบประมาณในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่จะส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานไทยให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และการจัดทำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเช่นการจัดทำข้อมูล Big Data เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ สถานศึกษา และข้อมูลแรงงาน (3)ขาดการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จ (4)การประสานงานระหว่างหน่วยยังไม่สามารถดำเนินการไปด้วยดี เนื่องจากมีหลายหน่วยงานค่อนข้างมาก จึงทำให้เป็นปัญหา อุปสรรค ในการทำงานที่บางครั้งมีความเข้าใจไม่สอดคล้องกัน   โดยจากวิจัยมีข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยได้แก่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน และภาคเอกชน จะต้องร่วมมือและประสานงานกันในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการพัฒนาแรงงานในทุกมิติและในทุกช่วงวัยทั้งที่อยู่ในวัยศึกษา วัยแรงงาน และวัยนอกแรงงานให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง  เพื่อให้มีสมรรถนะตอบสนองอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)