การเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ลฏาภา นวลอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเมืองภาคพลเมือง, รูปแบบการเมืองภาคพลเมือง, การเสริมสร้างการเมือง

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักในชุมชนได้แก่ผู้นำชุมชน ตัวแทนนักการเมือง ปราชญ์ชุมชน ผู้อาวุโสชุมชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 แขวง 7 ชุมชน 1) แขวงถนนนครไชยศรี 2) แขวงสี่แยกมหานาค 3) แขวงวชิรพยาบาล 4) แขวงดุสิต 5) แขวงสวนจิตรลดา รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน วิเคราะห์ด้วยการตีความสร้างข้อสรุป

          ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการเมืองภาคพลเมืองส่วนใหญ่เกิดจาการสร้างความชอบธรรมในการเมือง กิจกรรมทางการเมืองกระทบต่อสิทธิวิถีชีวิตของประชาชน รูปแบบการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยได้แก่ การออกเสียงประชามติ ประชาพิจารณ์ การอภิปรายสาธารณะ การริเริ่มกฎหมายโดยประชาชน และรูปแบบอื่น ๆ เช่น การนัดหยุดงาน การชุมนุมประท้วง เป็นต้น แนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองพบว่า การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมที่อยู่บนบรรทัดฐานร่วมกัน การจัดตั้งองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง มีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพทันต่อสถานการณ์และสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง การส่งเสริมให้มีระเบียบวิธีที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง การจัดกิจกรรมทางการเมืองให้มีการสร้างสรรค์ การส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชน การจัดให้มีการส่งเสริมภาวะผู้นำใหม่ทางการเมืองที่ไม่เน้นการแข่งขันทางอำนาจหรือสร้างความขัดแย้ง การสร้างทางเลือกใหม่ ให้แก่ประชาชนที่หลากหลายอยู่บนพื้นฐานของมิติทางสังคม การสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองภาคพลเมืองแยกเป็นเอกเทศและสามารถสร้างแรงบันดาลใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิผล แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิดความขัดแย้งหรือแตกแยกในสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)