แนวทางการออกแบบป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2565
คำสำคัญ:
การออกแบบ, ป้ายหาเสียง, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, การเลือกตั้งบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวทางการออกแบบป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 และ 2) เพื่อพิจารณารูปแบบด้านความเหมือนและความแตกต่างในด้านองค์ประกอบการสื่อสารทางการเมืองของแต่ละผู้สมัคร พร้อมกับเปรียบเทียบกันระหว่างบุคคล โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้มีความรู้ที่จากสาขาการออกแบบสื่อและบุคคลที่มีประสบการณ์ในการออกแบบ การถ่ายภาพ และการพิมพ์ จำนวน 19 คน 2) ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในปี 2565 จำนวน 422 คน การใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์บริบท และการวิเคราะห์ใจความ
ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการออกแบบป้ายหาเสียง คือ การเลือกใช้ข้อมูลและเนื้อหาที่เข้ากับความต้องการและค่านิยมของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยสร้างความประทับใจ รวมทั้งเข้าถึงจิตใจของผู้เลือกตั้งได้มากขึ้น 2) ป้ายหาเสียงของคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับคะแนนสูงสุด ( =4.17) รองลงมา คือ คุณสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ( =3.57) คุณอัศวิน ขวัญเมือง ( =3.41) คุณสกลธี ภัททิยกุล ( =3.29) คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ( =3.24) และคุณศิธา ทิวารี ( =3.19) ตามลำดับ