การพัฒนาและออกแบบประติมากรรมเพื่อสะท้อนความเป็นไทยร่วมสมัยริมแม่นํ้าเจ้าพระยา Development and design sculptures reflected Thai contemporary by the side of the Chao Phraya River

Main Article Content

มิรินทร์ แสนตา
รุ่งอนิล ชาวนาฟาง
วันวิสาข์ ภักดีศรี
สิรินทร์ โพธนาถกุล
อรัญ วนิชกร
ยศไกร ไทรทอง

Abstract

                การพัฒนาและออกแบบประติมากรรมเพื่อสะท้อนความเป็นไทยร่วมสมัยริมแม่นํ้าเจ้าพระยาการศึกษาครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์1.) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 2.) เพื่อทดลองใช้อัตลักษณ์ที่ได้
สู่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นแม่น้ำสาย
หลักในการคมนาคมของคนทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คือฝั่งธนบุรีและบางกอกใหญ่ ยังมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันโดด
เด่นมีการใช้เส้นสาย รูปทรงที่อ่อนช้อย งดงามและมีเสน่ห์ในแบบของความเป็นไทย สถาปัตยกรรมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานี้ยัง
บ่งบอกเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ การคมนาคม การเมืองและความเจริญของคนไทยในครั้งอดีตกาลที่อาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำ
เจ้าพระยา โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ 1.) สืบค้นข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และลงพื้นที่สำรวจภาพลักษณ์สองฝั่งแม่น้ำ
เจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือสาธรถึงถนนพระอาทิตย์ 2.) วิเคราะห์หารูปแบบอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทั้งสองฝั่งริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา 3.) นำส่วนที่วิเคราะห์ได้มาทำการออกแบบเป็นประติมากรรมริมแม่น้ำเจ้าพระยา 4.) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5.)
พัฒนารูปแบบ 6.) สร้างหุ่นจำลองต้นแบบประติมากรรม ผลการศึกษาพบว่าผลงานที่ได้รับการออกแบบเป็นต้นแบบที่มาจากอัต
ลักษณ์ จำนวน 4 ชิ้น ประกอบด้วย 1.) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดสีขาว 2 รูปแบบ 2.) หุ่นจำลองต้นแบบที่มีลวดลายที่ได้จากอัต
ลักษณ์ 2 รูปแบบ เพื่อคงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมสมัยระหว่างอดีตถึงปัจจุบัน เป็นชิ้นงานที่
สามารถกลมกลืนอยู่กับสภาพแวดล้อมของทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
บทความวิจัย