การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการออกแบบภาพประกอบ The Development of Electronics Book on Illustration Design

Main Article Content

ชญานิศ ชิงช่วง

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการออกแบบและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการออกแบบภาพประกอบ 2)
เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการออกแบบภาพประกอบ โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับหลักการ และ
กระบวนการ ออกแบบภาพประกอบ รวมถึงศึกษาหลักการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเก็บข้อมูลเชิงลึกจากการ
สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาการออกแบบภาพประกอบ การผลิตสื่อเพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และใช้ตาราง Matrix
Analysis เพื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านการออกแบบ และใช้ทฤษฎีสี
ของ Kobayashi โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เลือกแนวทางในการออกแบบและจึงนำมาพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยประเมิน
คุณภาพด้านเนื้อหาและการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 10 ท่าน แบ่งเป็นด้านเนื้อหา 5 ท่าน และด้านการออกแบบ
จำนวน 5 ท่าน โดยด้านเนื้อหาสามารถสรุปผลได้ดังนี้ เนื้อหาในส่วนของการยกตัวอย่างมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและรูปแบบ
การนำเสนอของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.60 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 เนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์และการใช้
รูปภาพประกอบตรงตามเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 ความสมบูรณ์ของเนื้อหา การ
เรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา เนื้อหามีความทันสมัยเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน และความเข้าใจของภาษาที่ใช้ในการ
เขียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.20 ค่าเบี่ยงเบน 0.45 การประเมินคุณภาพด้านการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการออกแบบ
ภาพประกอบ สามารถสรุปได้ดังนี้ ในส่วนของการออกแบบโดยการใช้สีพื้นหลัง การใช้สีตัวหนังสือมีความเหมาะสม และการ
เลือกใช้ตัวอักษรที่มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 5.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 ความสะดวกในการค้นหาเชื่อมโยง
ข้อมูลและการเลือกใช้โทนสีมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยรองลงมาเท่ากับ 4.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 และความสะดวกใน
การเปิดใช้งานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีค่าเฉลี่ย 4.60 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการ
ประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การออกแบบภาพประกอบ คือนิสิตภาควิชาศิลปะและการออกแบบคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 25 คน โดยประเมินคุณภาพจากการใช้งานของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง
การออกแบบภาพประกอบ โดยสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ด้านความสมบูรณ์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และการเปิดอ่านง่าย มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.8 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 รองลงมาคือการเข้าถึงข้อมูลและการค้นหาเชื่อมโยงข้อมูล มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม การเลือกใช้ตัวอักษรและสีที่
เหมาะสมอ่านง่าย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย