การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มศิลปะประดิษฐ์โอทอป (OTOP) จังหวัดพิษณุโลก The Development of Natural Material Product and Packaging for OTOP Phitsanulok
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ประเภทของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึกของกลุ่มศิลปประดิษฐ์โอทอป (OTOP) จังหวัดพิษณุโลก 2)
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบพัฒนาขึ้นใหม่ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มศิลป
ประดิษฐ์โอทอป จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแบบร่างผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 5 ท่าน โดยวิธีการเลือก
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มผู้ประเมินความพึงพอใจ คือ ผู้ซื้อและผู้สนใจผลิตภัณฑ์ จำนวน 100 คน โดยการสุ่ม
แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบร่างผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ
จำนวน 9 รูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41–50 ปี อาชีพ
พนักงานเอกชน รายได้ต่อเดือน 15,000 -25,000 บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี มีพฤติกรรมการใช้และการซื้อผลิตภัณฑ์โอ
ทอปประเภทศิลปะประดิษฐ์มากที่สุด รูปแบบการซื้อส่วนใหญ่ซื้อเพื่อเป็นของที่ระลึก (ของฝาก) เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกซื้อคือซื้อเมื่อมี
โอกาส ส่วนประเด็นที่พิจารณาในการตัดสินใจซื้อพิจารณาจาก ความสวยงาม รูปแบบ ความทันสมัย ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ
ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ทุกรูปแบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แต่ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กุ๊ก
ไก่จากรังไหมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.05 รองลงมาคือ ดอกบัวจากรังไหม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และ พวงองุ่นจากลูกตะแบก มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 ตามลำดับ