การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต A Study of Virtual Museums on The Internet

Main Article Content

ประทุมทอง ไตรรัตน์
วสันต์ สอนเขียว
ศักดา ส่งเจริญ
วรพจน์ ส่งเจริญ
ภารุจีร์ เจริญเผ่า
ธีราทัต เลิศช่ำชองกุล

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมพิพิธภัณฑ์เสมือนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต
2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ชมที่มีต่อระบบนำชม รูปแบบความรู้จากพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยการ
สำรวจความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาคณะละ 30 คน รวม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สื่อพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์นำมาจัดรวบรวมเป็นเว็บไซต์ สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษา พบว่า
พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์พบว่ามีพิพิธภัณฑ์ของไทยในรูปแบบสื่อเสมือน (Visual tour) แบบภาพ สองมิติและสามมิติ
ส่วนใหญ่สามารถแสดงผลได้บนจอคอมพิวเตอร์และ แทปเล็ต สมาร์ทโฟน ผลจากการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง
พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมด้านการใช้งานอยู่ในระดับมาก ( X =3.67, S.D. =0.54) ความพึงพอใจโดยรวมด้านการ
ออกแบบอยู่ในระดับมาก ( X =3.53, S.D. =069) ความพึงพอใจโดยรวมด้านเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการชม Visual Tour) อยู่
ในระดับปานกลาง ( X =3.28, S.D. =0.50)

Article Details

Section
บทความวิจัย