การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือจากภาคการเกษตรและวัชพืชแบบเยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับผลไม้ Packaging Development from Agricultural Debris and Weeds as Molded Pulp for fruit

Main Article Content

ประทุมทอง ไตรรัตน์

Abstract

               การวิจัยการพัฒนาการใช้วัสดุเหลือใช้จากการเก็บในภาคการเกษตรและวัชพืชเพื่อเป็นเยื่อในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่
ลดการเกิดเชื้อราและยืดอายุผลไม้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อออกแบบผลิตชุดเตรียมเยื่อในการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบกระดาษ
ขึ้นรูป 2) เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเยื่อกระดาษขึ้นรูปสำหรับผลไม้ 2 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะละกอ 3) เพื่อทดสอบสารสกัด
จากใบขี้เหล็ก ใบมะกูด ข่าและใบพลูเปรียบเทียบการลดการเกิดเชื้อราและยืดอายุของมะม่วงและมะละกอ เป็นส่วนผสมในเยื่อที่
ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์และส่วนของสารพ่นโดยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ คือ 1) การสร้างชุดเตรียมเยื่อกระดาษ ได้แก่ เครื่องบดและ
เครื่องปั่นเยื่อ 2) การออกแบบแม่พิมพ์บรรจุภัณฑ์ 3) การเตรียมเยื่อจากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรเพื่อในการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์
และ 4) การทดสอบประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ในการลดและป้องกันโรคเชื้อราของมะม่วงและมะละกอ ผลการศึกษาสรุปดังนี้
เครื่องบดสามารถบดส่วนของพืชได้ดีในพืชสดที่มีลำต้นอ่อนและมีการหั่นหรือสับและทำการแช่ก่อนนำมาทำการบดและเครื่องตีก็
สามารถตีออกเป็นเยื่อสำหรับการขึ้นรูปเป็นกระดาษได้ ในส่วนพืชที่มีความแข็งก็จะสับก่อนที่จะนำเข้ามาบด การออกแบบ
รูปแบบบรรจุภัณฑ์จะทำแบบเป็นรูปของผลไม้ตามขนาดและรูปแบบของผลไม้ในการส่งออกซึ่งจะมี 3 ขนาด พบว่า ผู้จำหน่าย
เห็นว่ามีความน่าสนใจว่าสามารถใส่ผลไม้ลงไปแต่ละลูกและนำจัดวางลงกล่องและยึดด้วยกระดาษเพื่อป้องกันความเสียหายที่
เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งและเวลานำมาจัดวางก็สามารถเปิดออกได้ด้านใดด้านหนึ่งที่ทำให้ลดการสัมผัสโดยตรงที่ผลไม้ที่อาจทำ
ให้เกิดความเสียหายได้ ในการทดสอบในการขนส่งพบว่าผลไม้ยังคงสภาพดีไม่เกิดการเสียหายระหว่างการขนส่ง และการยืดอายุ
และป้องกันการเกิดโรคจากสารสกัด ใบขี้เหล็ก ใบมะกรูด ข่า และสารสกัดใบพลู ที่ผสมลงในเยื่อและฉีดพ่นมีประสิทธิภาพใน
การควบคุมโรคที่เกิดได้ดีทีสุดคือ ใบขี้เหล็กและรองลงมาคือใบพลู ข่าและใบมะกูด ตามลำดับ

Article Details

Section
บทความวิจัย