Study and application of benjarong ware patterns to clothes and accessory design
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเครื่องถ้วยเบญจรงค์เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ 2) เพื่อออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจากการศึกษาเครื่องถ้วยเบญจรงค์
ผลการวิจัยพบว่า เครื่องถ้วยเบญจรงค์แสดงถึงอัตลักษณ์ลวดลาย สีสัน และความประณีตศิลป์ โดยลวดลายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ ลวดลายเทพ ลวดลายพรรณพฤกษา ลวดลายผ้ายก และลวดลายสัตว์ในวรรณคดี สีที่ใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว และสีดำ แสดงถึงงานประยุกต์ศิลป์ไทยที่มีความประณีตละเอียดอ่อน โดยผู้วิจัยได้ทำการถอดลวดลายของแต่ละกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์หาความเหมาะสมเพื่อนำมาออกแบบลงบนเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มลายพรรณพฤกษาและนำมาออกแบบลวดลายที่ผสมสานกับลวดลายเรขาคณิต เพื่อประยุกต์ลวดลายตามองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ที่น่าสนใจ สำหรับใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย โดยใช้รูปภาพจำลองกลุ่มเสื้อผ้า 3 ประเภท กลุ่มรองเท้าส้นสูง 2 ประเภท และกลุ่มกระเป๋า โดยแต่ละประเภทแบ่งออกแบบเป็น 3 รูปแบบ เพื่อทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกให้เหลือประเภทละ 1 รูปแบบเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและสร้างต้นแบบให้มีรูปแบบที่เหมาะสม ผลการประเมินทางด้านการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมของรูปแบบกลุ่มเสื้อผ้าอยู่ในความพึงพอใจในระดับมาก ( =4.00) และ (S.D.= 0.38) ผลการประเมินโดยภาพรวมของรูปแบบรองเท้าส้นสูงอยู่ในความพึงพอใจในระดับมาก (
=4.00) และ (S.D.= 0.62) และผลการประเมินโดยภาพรวมของกระเป๋าสะพายข้าง (Cross body) อยู่ในความพึงพอใจในระดับมาก (
=4.14) และ (S.D.= 0.34)
คำสำคัญ: เครื่องถ้วยเบญจรงค์, ประยุกต์, ออกแบบ, เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด.
นิดดา หงส์วิวัฒน์. (2554). เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์คติ.
ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2538). การออกแบบลวดลาย. สำนักพิมพ์ กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. (2539). ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอสถสภา.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัดแผนพัฒนา
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12. ออนไลน์ 2 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2561. จาก
http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฤดี นิยมรัตน์. (2554). อัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561. จาก
http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/520.