Historical the fresh market in Uttaradit
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ พัฒนาการ รูปแบบตลาดสดเมืองอุตรดิตถ์ รูปแบบผังและการใช้สอยพื้นที่ของตลาดสด ตั้งแต่ยุคสุโขทัยถึงปัจจุบัน เนื่องจากเมืองอุตรดิตถ์ในอดีตนั้น เป็นแหล่งค้าขายแลกเปลี่ยนที่สำคัญของภาคเหนือ ตั้งแต่ยุคที่มีการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงเป็นระบบรางและถนนในปัจจุบัน โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ เทียบเคียงเพื่อทราบถึงพัฒนาการ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษาพบว่า ตลาดสดของเมืองอุตรดิตถ์ในยุคสุโขทัยนั้น มีตลาดบกเมืองทุ่งยั้งและตลาดน้ำหาดท่าอิฐเป็นตลาดที่สำคัญ ตลาดบกเมืองทุ่งยั้งมีลักษณะเป็นลานโล่ง ตั้งอยู่ภายในตัวเมือง ตลาดน้ำหาดท่าอิฐเป็นรูปแบบตลาดเรือนแพ เรือค้าขายในน้ำและเพิงชั่วคราว จนกระทั่งช่วงยุคอยุธยาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เกิดตลาดน้ำหาดท่าเสาและตลาดน้ำหาดท่าโพธิ์เพิ่มขึ้นมา จากเดิมที่มีแค่ตลาดน้ำหาดท่าอิฐ ส่วนตลาดบกเมืองทุ่งยั้งหมดความสำคัญลงไป รูปแบบสถาปัตยกรรมตลาดทั้ง 3 แห่ง ยังคงมีลักษณะเป็นเรือนแพ เรือค้าขายและเพิงชั่วคราว เช่นเดียวกับยุคสุโขทัย อย่างไรก็ตามในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย ช่วงรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 6 ตลาดน้ำเมืองอุตรดิตถ์เข้าสู่ยุคเสื่อมถอย เนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคมทางถนน และรถไฟ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง ทำให้รูปแบบตลาดน้ำหายไป เหลือเพียงเป็นรูปแบบตลาดบกที่มีลักษณะอาคารของห้องแถวไม้ และตึกแถวคอนกรีต ที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟและแม่น้ำ ทั้งนี้ตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เกิดรูปแบบตลาดบกมีลักษณะของอาคารถาวรขนาดใหญ่และยังมีการใช้งานจนถึงปัจจุบัน ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงพัฒนาการและปัจจัยของการคมนามคมและการปกครองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลาดสดเมืองอุตรดิตถ์ เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเมืองอุตรดิตถ์ในอนาคต
ABSTRACT
This research aim to study in the history and explore the character in the fresh market in Uttaradit, it involve layout plan and function of building in Sukhothai, Ayutthaya, Rattanakosin periods. Because Uttaradit in the past was an important trading center of the northern region, since the era of water transportation until changed to the railway and road system. The fresh market in Uttaradit have changed in the layout and architecture. In this research, by studying from books various documents related historical the fresh market in Uttaradit. After that, it will be used to know about evolution and factors affecting theirs in each period. The research shows that, in Sukhothai, the Thung Yung marketplace and the Tha It floating market were most important. The Thung Yung marketplace had a form of courtyard in the city. As for the Tha It floating market had a form of houseboat ,water trading boats, shack. From the era of Ayutthaya to early Rattanakosin, there had occoured two floating market in Uttaradit. There were Tha Sao floating market and Tha Pho floating market, since Sukhothai period had only the Tha It floating market, while The Thung Yung marketplace lost importance. The architectural style of all markets were similar. However, in the reign of King Rama V and King Rama VI , the floating market entered a period of decline. The main reason were caused by road development, railways and the change of regimes. The marketplace had become the most popular market, it had the character of a wooden row house and concrete commercial building, were near the railway station and the river. Since the reign of King Rama VII, the marketplace had become large permanent buildings, it was still traded until now. This research shows the development and the factor that affected character of the fresh market in Uttaradit. It is significant reference for studying historical architecture of Uttaradit province in the future.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติ จิวะกุล และคณะ. (2525). ตลาดในกรุงเทพมหานคร : การขยายตัวและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติพร ใจบุญ. (2549). ตลาดกับชีวิต:บทศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดในสังคมไทย. ใน สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์. ตลาดในชีวิต ชีวิตในตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมอนามัย. (2556). คู่มือตลาดสดน่าซื้อ (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร.
ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง. (2562). เพลิงผลาญตลาดบางโพ-วัดท่าถนน. วารสารเมืองโบราณ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก
http://www.muangboranjournal.com/post/uttaradit-old-picture-2508
โดม ไกรปกรณ์. (มปป). มณฑลเทศาภิบาล. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title
มณเฑียร ดีแท้. (2519). ประวัติเมืองอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.
มณเฑียร ดีแท้. (2523). มรดกทางวัฒนธรรมของชาวอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: วิเทศธุรกิจการพิมพ์.
รัฐวิชญ์ ศุภจัตุรัส. (2556). ตลาดสดพื้นถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบ พัฒนาการ และการใช้งานปัจจุบัน. (ศศ.ม).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุดารา สุจฉายา. (2562). ทุ่งยั้งคือนครสระหลวงในจารึกสุโขทัย. วารสารเมืองโบราณ, 45(1).
สุวัฒนา สีหลักษณ์. (ม.ป.ป.). เสี่ยยู้ สุนันท์ สีหลักษณ์. ม.ป.ท.: สายธุรกิจโรงพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A136/%A136-20-9999-update.pdf
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/
หวน พินธุพันธ์. (2521). อุตรดิตถ์ของเรา.กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. (2533). สถาปัตยกรรมในเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: ฟันนี่ พับบลิชชิ่ง.
อนันต์ เอี่ยมสรรพางค์. (2558). ตำนานเมืองอุตรดิษฐ (พิมพ์ครั้งที่2). อุตรดิตถ์ฯ: วิบูลย์การพิมพ์.