Dyeing the bamboo strips with natural colors from butterfly pea for artificial flower products
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิธีการย้อมสีเส้นตอกไม้ไผ่ด้วยสีธรรมชาติจากดอกอัญชัน 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเส้นตอกไม้ไผ่ที่ผ่านการย้อม และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ วิธีดำเนินการวิจัยในระยะที่ 1 ศึกษาวิธีการย้อมสีเส้นตอกไม้ไผ่ด้วยสีธรรมชาติจากดอกอัญชัน โดยศึกษาชนิดของสารช่วยติด 3 ชนิด ได้แก่ เกลือ สารส้ม น้ำขี้เถ้า ที่ระดับความเข้มข้น 3 ระดับ คือ ร้อยละ 1, 10 และ 20 วัดค่าสีก่อนและหลังการย้อม แล้วนำค่าสีในแต่ละหน่วยทดลองวิเคราะห์ความแตกต่างโดยวิธี Ducan’s multiple test ระยะที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากเส้นตอกไม้ไผ่ที่ผ่านการย้อม และระยะที่ 3 ประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบร่างผลิตภัณฑ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องจักสานไผ่วิจักษณ์ จำนวน 20 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และกลุ่มผู้ประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 100 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การย้อมสีเส้นตอกไม้ไผ่ที่เหมาะสม คือ การต้มเส้นตอกไม้ไผ่ในน้ำย้อมสีสกัดจากดอกอัญชันผสมกับน้ำในอัตราส่วน 100 มิลลิลิตร ต่อน้ำเปล่า 1,000 มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง ส่วนความเข้มข้นของสีโดยเฉลี่ยในแต่ละชนิดของสารช่วยติดพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยการใช้เกลือที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 ให้ค่าเฉลี่ยความสว่าง L* (55.72a 1.56) น้อยที่สุดแสดงถึงการติดสีดีที่สุด และมีค่า a* (-0.89a 0.55) เป็นค่าลบซึ่งแสดงถึงการติดสีเขียว b* (3.57a 1.56) สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ย้อมสีดอกอัญชัน คือ ดอกกล้วยไม้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกไฮเดรนเยียอยู่ในระดับมาก และดอกทิวลิปอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560- 2565. สํานักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2560). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วังอักษร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์และคณะ. (2553). เทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม. เอกสารการ
สอนชุดวิชา นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พูนทรัพย์ สวนเมืองและคณะ. (2542). การย้อมสีไหมด้วยวัสดุธรรมชาติในภาคอีสานของไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมเทคโนโลยีที่
เหมาะสม.
ภัทรานิฏชณ์ พิมพ์ประพร. (2558). การศึกษาอิทธิพลของสารช่วยติดสีต่อเฉดสีของสีย้อมธรรมชาติสกัดจากใบหมี่บนเส้นใยไหม
ด้วยกระบวนการย้อมแบบดูดซึม (วศ.ม.) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มนัส จันทร์พวงและคณะ. (2563). การพัฒนาผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากใบสัก ชุมชนบ้านแม่พวก ตําบลห้วยไร่ อําเภอเด่นชัย จังหวัด
แพร่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 8(1), 250-262.
วรางคณา ศรีผุย วัชรี ฟั่นเฟือนหา และ ณัฐพร พุทธวงศ์. (2562). การพัฒนาการย้อมสีจากไม้ฝางด้วยกระบวนการย้อมแบบพหุโดย
ใช้ดอกดาวเรืองเป็นสีหลัก. วารสารวิจัยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(4), 27-35.
วิชยา ภูมิชัย และขนิษฐา วัชราภรณ์. (2560). อิทธิพลของน้ำขี้เถ้าจากไม้ 6 ชนิด ต่อผลของการย้อมครามบนผ้าฝ้าย. ใน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 น.3770-3775.
วันชัย หมวกน้อย. (2563, 12 มีนาคม). ประธานกลุ่มผู้ประกอบกิจการ เครื่องจักสานไผ่วิจักษณ์. สัมภาษณ์.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP). กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.