การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก

Main Article Content

สฤษดิ์ น้ำใจเพ็ชร
จิรวัฒน์ พิระสันต์
นิรัช สุดสังข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก 2) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากรูปแบบเดิมกับภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากรูปแบบใหม่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยว ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 222 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดใน 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กล้วยตาก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาปัจจัยในการตัดสินซื้อที่ส่งผลต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ โดยใช้กลุ่มนักท่องเที่ยว ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 222 คนเช่นกัน

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กล้วยตาก ด้านบรรจุภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่คือ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ มีส่วนร่วมกับความแปรปรวนและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กล้วยตากของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยทั้ง 3 มีส่วนร่วมเท่ากับ 16 % (R2 = 0.160) สามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ ในรูปคะแนนดิบ \dpi{80} \hat{Y} = .282 +.573 + -.712 และในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ \dpi{80} \hat{Z} = .227 + .436 + -.608

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบโดยใช้ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อมาผนวกกับหลักการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ แนวคิดที่นำเอาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมารวมกับการออกแบบที่ดูมีความทันสมัย และคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ ใช้โทนสีเหลือง ตราสินค้ามีรูปใบตองที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากกล้วย ใช้ตัวอักษรที่มีความเป็นไทย ภาพประกอบที่ใช้บนบรรจุภัณฑ์เป็นภาพถ่ายจริง อีกทั้งยังคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมกับราคาผลิตภัณฑ์

การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคในบรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่นั้น พบว่าความพึงพอใจในบรรจุภัณฑ์ รูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ โดยภาพรวมมีความแตกต่างของปัจจัย โดยที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในรูปแบบใหม่มากกว่ารูปแบบเดิม

 

The Study of factors in consumers purch asing decisions to develop packaging of dried banana product

This study aims 1) to examine factors in purchasing decisions of consumers on packaging, products, dried banana, 2) to develop packaging products, dried banana, 3) to compare the quality of packaging products, bananas, dried form. The dried banana product packaging with the new format.

The sample used in this research area is the Wat Phra Sri Ratana Mahathat (Wat Yai) in Phitsanulok province, 222 people used. The factors associated with the product dried banana. The data were analyzed. By frequency, percentage, mean and standard deviation. Pearson correlation and multiple regressions (Multiple Regression) of consumers were satisfied with the old-style packaging and a new-style.

The study concluded that factors affecting the decision to buy dried banana. The packaging statistically significant, including the storage of the product brand and graphics on the packaging. Contribute to the variability and influence buying decisions, consumer products, and dried banana statistically significant. The three factors are equal to 16% (R2 = 0.160) prediction equation can be written as follows. The raw score = .282 + .573 + - .712 = .227, and standard scores were 0.436 + - 0.608.

Packaging design, prototype, using a combination of factors in the decision to design the packaging. The idea to bring a unique combination of local designs with a modern look. And taking into account the ease of use of the package. The color yellow. A banana logo on the products made from bananas leaf. The letter to the Thai-style. The illustration on the packaging is an actual photograph. They also take into account the cost of production for money products.

Comparison of consumer satisfaction in the old packaging and the new format. Find satisfaction in old-style packaging and a new-style. Overall, there is a difference of a factor. The consumer satisfaction in the new format than the original model.

Article Details

Section
บทความวิจัย