การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับของกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

Main Article Content

จุฑามาศ ดอกนอ่อนเบ้า
จิรวัฒน์ พิระสันต์
นิรัช สุดสังข์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผลิตหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย เพื่อการพัฒนาเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ร่วมสมัยของกลุ่มผลิตหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคในรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับหลังจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของของกลุ่มผลิตหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย
ประชากรในการวิจัยผู้วิจัยได้กำหนดประชากรในการวิจัย 2 กลุ่ม คือ 1. ประชากรในหมู่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตหัตถกรรมจากกะลามะพร้าวบ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จำนวนประชากรในหมู่บ้าน 330 คน และ 2. ประชาชนที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลยและนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาเที่ยวใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเลยช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2553 พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวทั้งสิ้น 41,996 คน ผู้วิจัยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยกลุ่มที่ 1. ผู้ที่อาศัยในชุมชนและผู้ผลิตหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จำนวน 77 คนโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และ 2. ผู้ที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลยและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 540 คนโดยผู้วิจัยได้คัดเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 617 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดนการสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณาวิเคราะห์ 
ผลการวิจัย พบว่า สภาพทั่วไปของชุมชนมีลักษณะของภูเขาสลับกับพื้นราบ ไม่เหมาะแก่การทำนา เนื่องจากอาชีพหลักของชาวอีสานหรือพื้นที่ใกล้เคียง คือการทำนา ชาวบ้านในชุมชนจึงหันมาทำไร่แทน จากอดีตนั้นความเป็นอยู่ก็อาศัยซึ่งกันและกันอยู่กับแบบเครือญาติ พึงพาอาศัยกันตามแบบชนบท มีการสร้างรายได้เพิ่มเติมโดยการสร้างงานหัตถกรรมจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมสถานที่สำคัญในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนจึงเกิดการรวมตัวกันสร้างงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว เริ่มแรกรูปแบบและรูปทรงของผลิตภัณฑ์ในแนวคิดมาจากรูปทรงของจากธรรมชาติเท่านั้น ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลสรุปและสร้างแบบร่างออกมาแล้วนำไปสอบถามเกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนเพื่อหาแบบในการนำไปสร้างจริง และนำเครื่องประดับที่พัฒนารูปแบบแล้วไปประเมินโดยนักท่องเที่ยวและผู้ที่อาศัยในชุมชน รวมถึงผู้ผลิตหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อม ตำบลปวนพุ จังหวัดเลย พบว่า เครื่องประดับจากกะลามะพร้าวรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นมานั้นกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก


Development of Styles of Coconut Shell Handicraft Group in Suanhorm Village ,Amphur Nong Hin, Loei.

The purpose of this study was to examine the context of the community, community groups and products produced from coconut shell crafts Suanhorm Village,Amphur Nong Hin, Loei. for the development of coconut shell jewelry. For product identity, the contemporary of manufacture of handicrafts from coconut shells Suanhorm Village,Amphur Nong Hin, Loei., and to evaluate the satisfaction of consumers in product design jewelry after the product's development of the manufacture of handicrafts from coconut Suanhorm Village,Amphur Nong Hin, Loei. Samples in this study was. Those who live in the community and coconut shell craft manufacturer Suanhorm Village,Amphur Nong Hin, Loei. Sampling of 77 students selected by purposive and those who live in Muang district. Loei Province, and tourists come to see it in the Province of 540 people who were selected by simple random sampling. Sample of 617 persons of the research consists of gathering information from the document. And field data collection. Being interviewed. Observation and participation. Tools included in this study. Interviews and questionnaires. Data analysis purposes. And the results were presented in a descriptive analysis.
The results showed that the general condition of the community nature of mountains alternate with flat Not suitable for farming. Since the main occupation of the Northeast or the areas near farming, local people turned to farming instead. From the past, the existence depends on each other with a relative Should bring together the rural housing. Has been created to generate additional revenue by creating crafts for sale to tourists who come to visit places in the community. People in the community is the gathering together to create handicrafts from coconut shell. Original form and shape of the product in the shape of the ideas come from nature only. The researcher has compiled a draft summary, and then came out to inquire about who is involved and to find a community in a real application. And the jewelry and then develop a model to assess the tourists and residents in the community. Manufacturers, coconut shell crafts Suanhorm Village,Amphur Nong Hin, Loei. That coconut shell jewelry from new forms were developed by the high level of satisfaction.

Article Details

Section
บทความวิจัย