การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อังกาบ บุญสูง

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)มุ่งเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการวิจัยศึกษาบริบทชุมชน ศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ และจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มข้อมูล (SWOT Analysis) กระทำการสัมภาษณ์ การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)และสังเคราะห์เนื้อหา (Content Synthesis) การวิจัยนี้มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรน้ำใสใต้ ตำบลชัยจุมพล และกลุ่มสภาผ้าไทย ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองบ้านน้ำริด ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง และกลุ่มทอผ้าบ้านน้ำอ่าง ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน
ผลจากการวิจัย พบว่า ศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมืองในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์มีหลายด้าน ได้แก่ (1) ทุนทางวัฒนธรรมอันเกิดมาจากภูมิปัญญาด้านการทอผ้า (2) ทุนทางสังคมด้านการรวมกลุ่มของคนในชุมชน และ (3) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสมาชิกชุมชนได้นำศักยภาพของตนเองมาบูรณาการรวมกันก่อให้เกิด “วิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง” 
ความสามารถที่จะพัฒนากลุ่มจะให้มีความเข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมีองค์ประกอบดังนี้ มีแกนนำที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายที่ชัดเจน เคารพกฎระเบียบ การเรียนรู้ร่วมกัน การแบ่งปันทรัพยากร การทำกิจกรรมร่วมกัน ความรู้สึกเป็นพี่น้อง ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจและเอื้ออาทรกัน จึงก่อให้เกิด “เครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์” จำนวน 4 เครือข่าย ที่เป็นไปตามความต้องการของสมาชิกได้แก่ เครือข่ายจัดซื้อวัตถุดิบ เครือข่ายข้อมูลข่าวสาร เครือข่ายการเรียนรู้ และเครือข่ายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์


A Study of Enterprise Woven Fabrics Networking Communities in Uttaradit

This research is Participatory Action Research to study network of community enterprise Woven fabrics in Uttaradit. using Focus Group to Collect data by interviews and observation for SWOT analysis. This research focused on four Woven fabrics enterprise communities Uttaradit. Housewife group of Nam Sai Tai; Chi Chumphum and Sapha Phathai; Weaving group traditional of Nam rid; and Weaving group of Ban Nam Ang. 
The results of the study showed that there are three potentials of community enterprise in local textile of Uttaradit: a cultural capital from wisdom of weaving society; a society capital from community in the area; and a natural capital from biodiversity. The member in their groups integrated their potentials to establish Woven fabrics community enterprise. The conditions which encourage their group to be strong are having a good leader, having clear targets, respecting in rules, learning and working together, sharing resources, feeling as a neighborhood, and trusting in member group.
After all group worked together, they had a good relationship to share their knowledge and resources to have networks of Woven fabrics community enterprise group in Uttaradit. There were four networks to contribute their works; learning network; and product distributive network. All networks enhanced the potential of local textile enterprises in Uttaradit.

Article Details

Section
บทความวิจัย