วิวัฒนาการชุดประจำชาติไทยบนเวทีประกวดนางงามจักวาล ระหว่างปี 2547 - 2553

Main Article Content

ดนัย เรียบสกุล

Abstract

วัฒนธรรม คือ สิ่งที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น เพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม โดยผ่านความเชื่อ ความเกรงกลัว และความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ แต่ละสังคมจะมีการสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งจนมีอัตลักษณ์ประจำชุมชน สามารถสืบทอดกลายเป็นประเพณีที่ชุมชนยอมรับ ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากซึ่งแบ่งเป็นหลายชนกลุ่ม จึงมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมค่อนข้างมาก ในแต่ละกลุ่มล้วนมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองที่เด่นชัด แต่โดยรวมแล้วสามารถแบ่งประเภทของวัฒนธรรมอีสานได้ 6 ประเภท คือ 1. มุขปาฐะ เช่น นิทานพื้นบ้าน แต่กลุ่มชนในภาคอีสานจะมีเรื่องเล่าหรือนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งมีความเฉพาะตัวในด้าน รูปแบบคำประพันธ์ และเนื้อหา 2. ความรู้เรื่องจักรวาล หรือความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ 3. ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ คือ ความรู้ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน 4. ประเพณีพิธีกรรม ชาวอีสานส่วนใหญ่มีประเพณีที่เรียกว่า ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่สืบทอดกันมายาวนานและเคร่งครัด 5. งานช่าง และ 6.ศิลปะการแสดง ในอดีตชาวอีสานใช้การสอดแทรกความรู้เรื่องวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นในสื่อพื้นบ้าน เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่น เนื่องจากสื่อพื้นบ้านเป็นสิ่งที่มีผลในการจูงใจ มีความใกล้ชิดกับผู้ชม ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ นับเป็นสื่อที่สามารถใช้ในการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งบรรพบุรุษสามารถสอดแทรกเนื้อหาด้านวัฒนธรรมอีสานเข้ากับสื่อพื้นบ้าน ในองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ 1. เนื้อเรื่อง มักใช้วรรณกรรมหรือนิทานพื้นบ้านในการแสดง 2. การแต่งกาย ในการแสดงสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิด แม้จะมีการปรับเปลี่ยนการแต่งกายตัวละครตามยุคสมัย แต่ยังคงรูปแบบพื้นฐานการแต่งกายของคนอีสานไว้ในตัวละครหลัก 3. การแสดงหรือการเคลื่อนไหว จะสื่อถึงพฤติกรรมในชิวีตประจำวันของคนแต่ละพื้นที่ 4. ดนตรีประกอบ และ 5. บทสนทนาหรือภาษาที่ใช้ คือการใช้ภาษาพื้นบ้านมาใช้ในการสนทนากันในโอกาสต่างๆ

Article Details

Section
บทความวิชาการ