การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกก กลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและหัตถกรรม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ Study and Development the Endemic Pattern of Woven Reed Mats Case study: Phanomrung Reed Mat and Handicraft Group in Amphur Chaloem P

Main Article Content

อัษฎางค์ รอไธสง
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา
อุดมศักดิ์ สาริบุตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกก กลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและงานหัตถกรรม อำเภอเฉลิม
พระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2.) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้วัสดุเสื่อกกลวดลายเฉพาะถิ่น 3.) ประเมินความพึงพอใจของผู้
จำหน่าย และผู้บริโภค ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ จากวัสดุเสื่อกกลวดลายเฉพาะถิ่น โดยมีวิธีดำเนินงานวิจัย ขั้นตอนที่ 1 คือ
การศึกษาลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกก กลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและงานหัตถกรรม ขั้นตอนที่ 2 คือ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
โดยใช้วัสดุเสื่อกกลวดลายเฉพาะถิ่น ขั้นตอนที่ 3 คือ ประเมินความพึงพอใจของผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์
จากวัสดุเสื่อกกลวดลายเฉพาะถิ่น ทั้งหมดมี 5 ด้านคือ ด้านหน้าที่ใช้สอย ด้านความสะดวกสบายต่อการใช้งาน ด้านความแข็งแรง
ด้านความสวยงามลักษณะเฉพาะถิ่น และด้านการขนส่ง จากการวิเคราะห์ลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกก กลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและ
งานหัตถกรรม จากการเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่แหล่งผู้ผลิต ได้กำหนดลวดลายเฉพาะถิ่น จำนวน 6 ลวดลาย จากนั้นจึงใช้กรอบ
ความคิดแนวทางการศึกษาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านด้านความงาม มาเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์ เมื่อเสนอผู้ทรงคุณวุฒิและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านลวดลายเฉพาะถิ่น จำนวนด้านละ 3 ท่าน ประเมินและขอคำเสนอแนะเกี่ยวกับการนำลวดลายเฉพาะถิ่นไปใช้ในการ
ออกแบบผลิตภัณฑ์จากงานทอเสื่อกก โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรนำเอาลวดลายที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
ได้แก่ ลวดลายผีเสื้อ และรองลงมาคือ ลวดลายปราสาทเขาพนมรุ้ง มาผสมผสานร่วมกันในการออกแบบลวดลายเฉพาะถิ่น การ
วิเคราะห์ขั้นตอนการประเมินรูปแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานทอเสื่อกก ที่ได้จาการสรุปลวดลายเฉพาะถิ่น โดยจาการเข้าสำรวจ
ข้อมูลความต้องการรูปแบบของสินค้าในพื้นที่แหล่งผู้ผลิต นำมาสร้างแบบร่าง และผ่านกระบวนการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมจำนวน
3 รูปแบบได้แก่ กล่องใส่ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว, กล่องใส่ผ้าเช็ดตัว และกล่องใส่ของชนิดพับเก็บ รูปแบบที่เหมาะสมที่สุด คือ กล่องใส่
ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว มีค่าเฉลี่ยที่ ( x¯ = 4.64, S.D.=0.51) ความพึงพอใจของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุ
เสื่อกกโดยใช้ลวดลายเฉพาะถิ่นที่ได้ออกแบบแล้วพบว่าตะกร้าใส่ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

This study aim (1) to study the pattern of reed mat from phanomrung reed mat and handicraft group in
Amphur Chaloem Phra Kiat, Buriram province, and (2) to design and development a pattern of reed mat by
used the local identity material, (3) to evaluated of satisfy on a product both of seller and buyer. The research
methodology were consist of 3 part :
1. Studies the pattern of reed mat from phanomrung reed mat and handicraft group.
2. Design and development of product by used material in the local identity.
3. Evaluated satisfy of product from seller and buyer included 4 part are: functional, comfortable,
strong, local identity and transportation.
The analytic of their from inspector were selectively 6 format of the standard pattern of reed mat in
local area, which the conceptual of beautiful of handicraft were analyze. In this research mix up in butterfly and
phanomrung castle format were presented to design, whom recommend by expert worker. The resultant used
to define a endemic pattern of product consist of plastic box, wash cloth box and handbag respectively. The
average satisfy of product are 4.53, 4.11 and 3.65 respectively. However, when considering the standard
derivative satisfy of product are 0.51, 0.54 and 0.56 respectively. Solution methods for solving the satisfy of
seller and buyer on a reed mat product by used the endemic pattern. The plastic box is higher satisfy in a local
area.

Article Details

Section
บทความวิจัย