การพัฒนาสีผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาสีผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหารโดยแบ่งเป็น วัตถุประสงค์ เพื่อทำ
สีธรรมชาติกับผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหาร และศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการทำสี
ธรรมชาติของไม้ไผ่ โดยวิธีการวิจัยการทดสอบสารหนูประเภทวัสดุสัมผัสอาหาร เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ
การทำสีธรรมชาติของไม้ไผ่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบด้านอาหาร ด้านสีธรรมชาติ ผลการวิจัยการทำสีไม้ไผ่เพื่อใช้เป็น
วัสดุสัมผัสอาหารพบว่า การทำสีจากฝาง กับผลิตภัณฑ์จักสาน ไม่ไผ่เกิดสี C = 23 M = 76 Y = 99 และ K = 12 ผลการทดสอบ
ไม่พบสารหนู การทำสีจาก ชา กับผลิตภัณฑ์จักสานไม่ไผ่เกิดสี C = 26 M = 45 Y = 90 K = 5 ผลการทดสอบไม่พบสารหนู การ
ทำสีจาก กาแฟ กับผลิตภัณฑ์จักสานไม่ไผ่เกิดสี C = 31 M = 58 Y = 99 K = 16 ผลการทดสอบไม่พบสารหนู ความคิดเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการทำสีกับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่เพื่อใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์วัสดุสัมผัสอาหาร พบว่า สีฝางมีค่าเฉลี่ย 3.90 มี
ความเหมาะสมมาก สีกาแฟมีค่าเฉลี่ย 4.25 มีความเหมาะสมมาก สีชามีค่าเฉลี่ย 4.70 มีความเหมาะสมมากที่สุด จากการ
ทดสอบหารหนูทั้ง 3 ชนิดไม่พบสารหนู
Article Details
References
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพฯ : ฮั่วซินการพิมพ์.
นเร ขอจิตต์เมตต์. (2550). Packaging & Design เสกสรรปั้นแต่งบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพ ฯ : ฐานบุ๊คส์.
ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principles. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
พจนานุกรมไทยฉ บับทันสมัย. (2543). ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2551). พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย & ไทย-อังกฤษ ฉบับทันสมัยและสมบูรญ์ที่สุด. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2548). พลิกภาพอัตลักษณ์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ชาย สิกขา และคณะ. (2558). การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ภาคอีสาน. ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6 (1) : 110-120.