การออกแบบภาพเคลื่อนไหวใบหน้าและปากของตัวละครแอนิเมชั่น

Main Article Content

วิสิฐ จันมา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาเทคนิคการออกแบบวิธีสร้างการเคลื่อนไหวให้กับใบหน้าและปากตัว
ละคร สำหรับงานออกแบบแอนิเมชั่น ที่ตรงเป็นจังหวะมีความพร้อมเพรียงกับเสียงพูด เสียงร้องเพลง การออกเสียงของคำ
สระ ภาษาไทยในผลงานแอนิเมชั่น จากเสียงที่ทำการอัดพากย์ไว้สำหรับตัวละคร 2. เพื่อออกแบบรูปร่างรูปทรงของการ
แสดงออกในใบหน้าที่สื่อความหมาย อารมณ์ ความรู้สึก 3. เพื่อเป็นหลักพื้นฐานสำหรับการออกแบบใบหน้าและเสียงให้
แอนิเมชันเทคนิคอื่นๆ เช่น แอนิเมชัน 2 มิติ 3 มิติ Stop motion 4. เพื่อทดสอบกับการออกแบบผลงานแอนิเมชั่นประกอบ
เสียงพูด ร้อง และแสดงออกถึงอารมณ์ต่างๆบนใบหน้าและปาก โดยมีกระบวนการออกแบบรูปร่างรูปทรงของใบหน้าและปาก
สำหรับตัวละครแอนิเมชั่น ตามเสียงภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภาพเคลื่อนไหวใน
อุตสาหกรรมหลักร่วมประเมินผลงาน จำนวน 5 ท่าน ผู้ที่สนใจทั่วไปจำนวน 155 คน โดยที่มีผลการวิจัยดังต่อไปนี้ จากกลุ่ม
ตัวอย่างจำนวน 155 คนพบว่าผลการประเมินการออกแบบการเคลื่อนไหวหน้าและปากของตัวละครแอนิเมชั่น โดยการ
ออกแบบการเคลื่อนไหวหน้าและปากของตัวละครแอนิเมชั่นด้านการแสดงอารมณ์ ความรู้สึกมีความเหมาะสมในระดับมาก
(gif.latex?\bar{x}= 4.06) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผลงานออกแบบใบหน้าและปากโดยรวมแสดงสื่อสารด้านอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจน
มีความเหมาะสมในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.29) รูปร่างรูปทรงใบหน้าและปาก สื่อความหมายการสื่อสารได้ชัดเจนมีความเหมาะสม
ในระดับมาก gif.latex?\bar{x}= 4.06) มีกระบวนการออกแบบใบหน้าและปากตัวละครอย่างเป็นขั้นตอนเข้าใจง่าย มีความเหมาะสมในระดับ
มาก (gif.latex?\bar{x}= 3.70) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลงานแอนิเมชั่น ในเทคนิคต่าง ๆ ต่อไปได้ มีความเหมาะสมใน
ระดับมาก gif.latex?\bar{x}= 4.16) และมีสุนทรียศาสตร์ทางด้านความงามในผลงานออกแบบฯ มีความเหมาะสมในระดับมาก gif.latex?\bar{x}= 4.12)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชไมพร สุขสัมพันธ์. (2541). การวิเคราะห์สัญญะ รหัส และกระบวนการสร้างรหัสในการ์ตูนญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรวิชญ พานิชรุทติวงศ์. (2548). การเคลื่อนไหวที่แสดงถึงอารมณ์ประเภทต่างๆในตัวละครอนิเมชั่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเลิศ บุตรขาว. (2544). กายวิภาคฉบับนักศึกษาศิลปะ. โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์. กรุงเทพฯ.

พิพัฒน์ นวลศรี. (2548). โครงการศึกษาการออกแบบตัวละครกับการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าสำหรับใช้กับหุ่นกลไกบังคับ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร .

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และ พิรุณ อนวัชศิริวงศ์. (2553). การ์ตูน : มหัศจรรย์แห่งการพัฒนาสมองและ การอ่าน. สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก. กรุงเทพฯ.

Richard Williams. (2001). The Animator’s Survival Kit. Faber and Faber Limited, New York.

Steve Roberts. (2007). Character Animation: 2D Skills for Better 3D. Focal Press.England.

Zhen Liu, Tomohiro Makita. (2007). Design of a shot Cartoon Film for Chinese Ancient Story, SecondInternational Conference on Innovative Computing, Informatio and Control (ICICIC 2007) Japan.