การพัฒนาหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างรูปแบบหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2) เพื่อพัฒนาหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 3) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 360 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2) หนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 3) แบบประเมินผลการออกแบบหนังสือภาพ 4) แบบประเมินคุณภาพหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ มี 4 องค์ประกอบ คือ ผู้ใช้ หนังสือภาพ การอ่าน และ การปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับหนังสือภาพในรูปแบบมี 4 ขั้นตอน คือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สแกนภาพจากหนังสือภาพดัวยแอปพลิเคชันออรัสมารอประมวลผล แอปพลิเคชันประมวลผลเป็นวีดีโอการ์ตูนแอนิเมชัน และ วีดีโอแสดงผลบนหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ผลการออกแบบหนังสือภาพมี 6 ส่วนประกอบโดยรวมมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้ คุณภาพหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ทั้ง 8 ด้าน คือ ลักษณะรูปเล่ม เนื้อหาสาระ การจัดภาพประกอบ การนำเสนอ ภาษาและตัวอักษร ปกหนังสือ วีดีโอการ์ตูนแอนิเมชัน และ การใช้หนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยรวมมีความเหมาะสมดีมาก และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความพึงพอใจที่ต่อหนังสือภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์มากที่สุด
Article Details
References
กล่อมจิตต์ พลายเวช. (2549). วรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชาวรรณกรรม และลึลาคติระดับปฐมวัยศึกษา. พิมพ์ครังที่ 7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กัณฑรี วรอาจ และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีความจริงเสมือน เรื่องประเทศสิงคโปร์ ผ่านไอแพด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 101-109.
ณรงค์ ทองปาน. (2526). การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : กรมฝึกหัดครู.
ณัฐมา ไชยวรโยธิน. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องศิลปะการแสดงประจาชาติประเทศในประชาคมอาเซียนด้วยเทคโนโลยีออรัสม่า. วารสารวิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา : e-Journal of Innovative Education". 2(1), (พฤษภาคม-ตุลาคม), 158-165.
นงคราญ ศรีสะอาดและคณะ. (2557). การสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนจากเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. รายงานสืบเนื่องจาการประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 7. 7(1), 13
นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 10(1), (มกราคม – มิถุนายน), 13-30.
เนารุ่ง วิชาราช. (2558). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องประชาคมอาเซียนด้วยเทคโนโลยีออรัสมา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิ่ชาการนำเสนิงานวิจัยระดับชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 615-322.
พูนศรี คัมภีรปกรณ์. (2549). การเลือกและการใช้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณกรรมและสิลาคติระดับปฐมวัยศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). ผูกข้อมูลไว้ในโลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี Aurasma. CAT Magazine. 32 (พฤษภาคม–มิถุนายน), 40-41.
วิมลิน มีศิริ. (2551). โครงสร้างการเล่าเรื่องกับการสื่อสารความหมายสำหรับเด็ก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุษมา แสนปากดี. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในบอร์ดประชาสัมพันธ์ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน. การประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 10. วารสารวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี. 257-264.
สนั่น สระแก้ว ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ และอภิชญ์ บุศยศิริ. (2554). แอนิเมชันสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 36. สืบค้นข้อมูล 22 ตุลาคม 2560,จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=36&chap=7&page=chap7.htm
สมศักดิ์ เตชะโกสิตและ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2558). การเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(1), (มกราคม - มิถุนายน), 225-230.
Glazer, J. I. (2000). Literature for young children (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.