ศึกษาและพัฒนากระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ตำบลบ้านยาง จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

จิตโสภิญ เพ็งบูรณ์
สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ตำบลบ้านยาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ


        ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาและพัฒนากระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ตำบลบ้านยาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำการทดลองสกัดสีจากพันธุ์พืชในท้องถิ่น 24 ชนิด ใช้สารช่วยติดสี 8 ชนิด ผ้าใยธรรมชาติย้อมทดลอง 2 ชนิด ได้สีจากการสกัด 192 สี โดยใช้สีและลวดลายจากการทดลอง มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จากนั้นใช้กรอบแนวคิดด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์เพื่อเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 ท่าน โดยการใช้รูปภาพจําลองแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำการออกแบบชนิดละ 3 รูปแบบ ทําการนำเสนอเพื่อประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญให้เหลือจํานวนกลุ่มผลิตภัณฑ์ละ 1 รูปแบบ และนํามาพัฒนาปรับปรุงสร้างผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติที่มีรูปแบบที่เหมาะสม ผลการประเมินทางด้านการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน พบว่า มีความคิดเห็นในการออกแบบกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเป๋าในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.29) และ (S.D.=0.43) กลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้าในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.24) และ (S.D.=0.44) กลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าอยู่ในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.23) และ (S.D.=0.43) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าเป็นวัสดุหลักในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.35) และ (S.D.=0.43) กลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอบนโต๊ะอาหาร ในภาพรวมอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.30) และ (S.D.=0.34)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล และนิทัศน์ คณะวรรณ. (2545). การตลาด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์และธุรกิจ SMEs. พิมพ์ ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ: เอ็ม เอ เอชพริ้นติ้ง.
ดาริน รุ่งกลิ่น. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของกลุ่มมัดย้อมสี
ธรรมชาติบ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ บม.ธ. บริหารธุรกิจ. นครศรีธรรมราช.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม, อุทัย เอกสะพังและวุฒิ วัฒนสิน. (2554). การผลิตสีเพื่อการย้อมผ้าและการย้อมด้ายของกลุ่มชาวบ้านใน
จังหวัดสงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ : ม.ป.ท.
ศศิธร ศรีทองกุล. (2556). มัดย้อม. กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2561. จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.