การออกแบบศาลาไม้ไผ่เพื่อพัฒนาศูนย์จัดแสดงสินค้าชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนบ้านไทรงาม จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ฐิรรัตณ์ ศรีคงจันทร์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการออกแบบศาลาไม้ไผ่ศูนย์จัดแสดงสินค้าชุมชน (SALA) และอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมมูลค่าสินค้าชุมชน 2) เพื่อการพัฒนาต้นแบบศาลาไม้ไผ่เพื่อศูนย์จัดแสดงสินค้าชุมชน (SALA) ขั้นตอนการผลิต นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุและการออกแบบเพื่อมวลชน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานโดยวิธีใช้แนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน ในพื้นที่วิจัยอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ทรงคุณวุฒิ ช่างพื้นถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การวิเคราะห์เนื้อหานำมาเขียนเชิงพรรณนา ผลงานวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพของพื้นที่ ด้านชุมชนมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีแผนพัฒนาศูนย์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่ม การเข้าถึงชุมชนวิสาหกิจบ้านไทรงามมีเส้นทางที่สะดวกชุมชนมีศักยภาพในการผลิตสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ในท้องถิ่นมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอต่อการผลิต 2) ต้นทุนของลำไผ่ การผลิตศูนย์จัดแสดงไม้ไผ่ในปัจจุบัน ยังมีต้นทุนสูงอันเนื่องมาจากราคาไม้ไผ่ที่ใช้ทำศูนย์จัดแสดงสินค้ามีหลากหลายขนาด ในฤดูฝนไม้ไผ่จะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงที่ไผ่ออกหน่อ การตัดไผ่ในช่วงนี้ทำให้หน่อหักและเกิดความเสียหายต่อผลผลิต ทำให้สวนไผ่ขึ้นราคา ทั้งนี้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการส่งเสริมการปลูกลำไม้ไผ่ที่นำมาใช้ผลิตสินค้าของกลุ่มในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อลดต้นทุน 3) การปรับเปลี่ยนขนาดลำไผ่ การผสมผสานวัสดุสมัยใหม่ในการออกแบบการนำระบบโมดูล่ามาใช้ในงานออกแบบเพื่อลดต้นทุน ทำให้สะดวกต่อการติดตั้งและขนย้ายมีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้งในทุกที่การใช้งานและเหมาะกับทุกสภาพแวดล้อม องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสารณสุข .(28พฤษภาคม2561).ยกระดับตลาดประชารัฐสู่มาตรฐานสะอาดและปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม2561,จากhttp://foodsan.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1192&filename=article&fbclid=IwAR3S8SG8uc6GNfZz9gIE4ueLaTst2XwNwkIMQybtcVO7230SOCu2pU2RUzQการออกแบบเฟอร์นิเจอร์

ชุมเขต แสวงเจริญ. (2559). หลักการออกแบบเพื่อทุกคน(Universal Design). สืบค้นเมื่อ19เมษายน 2562 , จากhttp://www.dop.go.th/download/formdownload/download_th_20160206145459_1.pdf

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น,

ธเนศ ภิรมย์การ. (2548). ออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพ : งานตำราและเอกสารการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้กรมป่าไม้. (2553). ไม้ไผ่ในประเทศไทย. กรุงเทพ: อักษรสยามการพิมพ์, 24 น.

Custom Residential Design New Homes-Remodel – Accessibility. Design Universal, Accessibility. Retrieved September15, 2018, from https://cobodesigner.com/universal-design/.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2 ก.พ. 2560)สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12.pdf. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561,จากhttp://www.nesdb.go.th/main.php?filename=index

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา .(22 March 2018). หมู่บ้านหัตถกรรมตำบลโพธิ์งาม. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.ldm.in.th/cases/6339

หน่วยวัตกรรมเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมจากไม้ไผ่และวัสดุท้องถิ่น. (2561). การจัดการภัยพิบัติด้วยวัสดุธรรมชาติไม้ไผ่. : เอกสารเผยแพร่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ยุทธนา ทองทวมและนิศารัตน ทองประไพ .(2562). แนวทางการออกแบบขอตอแบบถอดประกอบไดใหเหมาะสมกับโครง

สรางบานไมไผขนาดเล็กรวมสมัย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปตยกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1), 39-54

เอกพงษ์ ตรีตรง (15 ธันวาคม 2551). แนวความคิดในการออกแบบร้านเพื่อความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ5 พฤษภาคม2561, จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/u-sabuy/2008/12/15/entry-1

Jim Spavin (2012), module Design Create Space Independent Publishing Platform; 2 edition (March30, 2012) P7-10.

WAZZADU TRANSMEDIA, (สิงหาคม2560) เฟอร์นิเจอร์น๊อคดาวน์ (Knock down furniture). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.wazzadu.com/article/1341