การออกแบบแผนที่ท่องเที่ยวเมืองเก่าตราด

Main Article Content

สุภาวดี บุญยฉัตร

บทคัดย่อ

เมืองเก่าตราดในอดีต เป็นย่านการค้าเส้นทางคมนาคมหลักคือ คลองบางพระ ขนส่งสินค้าออกทะเลผ่านทางแม่น้ำตราด ปัจจุบันย่านเมืองเก่าริมคลองบางพระ เทศบาลเมืองตราดได้จัดตั้งเป็นชุมชนย่อยทางการปกครองชื่อ “ชุมชนรักษ์คลองบางพระ” สถาปัตยกรรมในชุมชนมีการอนุรักษ์ไว้อย่างดี การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแผนที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินหรือขี่จักรยานชมทัศนียภาพตามเส้นทางในแผนที่เพื่อเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของจังหวัดตราดจากคนเก่าแก่ที่ยังคงดำเนินกิจการดั้งเดิมบนบนถนนธนเจริญ ถนนชัยมงคล และถนนหลักเมือง ได้สะดวกขึ้น


การศึกษาเพื่อออกแบบแผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเก่าตราดเริ่มจากการสำรวจพื้นที่จริง และรวบรวมข้อมูลกายภาพ ประวัติความเป็นมา รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจจากข้อมูลทุติยภูมิ คนท้องถิ่น เพื่อค้นหาสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการทราบเมื่อได้ไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอในแผนที่ แล้วทดสอบการใช้งานจริง (Usability Testing) โดยวิธี Focus group จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 3 ช่วงอายุ ทั้งเพศชาย และหญิง ข้อเสนอแนะที่ได้รับถูกนำมาปรับปรุงแผนที่ และทดสอบซ้ำโดยกลุ่มทดสอบเดิม เพื่อปรับปรุงอีกครั้ง แผนที่ฉบับปรับปรุงนี้ได้ถูกทดสอบโดยตัวแทนนักออกแบบก่อนนำมาปรับปรุงให้เป็นแผนที่ฉบับสมบูรณ์


แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองเก่าตราดเป็นแผนที่ที่ออกแบบด้วยมือ (Hand-designed Map) แสดงสถานที่สำคัญและจุดที่น่าสนใจที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวระบุตำแหน่งที่พวกเขาอยู่ได้อย่างรวดเร็วและตรวจสอบเส้นทางที่น่าสนใจเพื่อไปถึงจุดหมายต่อไป เทคนิคและวิธีแสดงสถานที่สำคัญและจุดที่น่าสนใจโดยใช้หลายมุมมองในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ภาพสองมิติ (orthographic view) ของพื้นที่ในแนวระนาบพื้น และภาพสามมิติ (Oblique and perspective projections) ของอาคารเพราะมีข้อได้เปรียบคือขนาดและรูปร่างของอาคารไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะทางไปยังจุดที่มองเห็นและช่วยในการเปรียบเทียบขนาดและพื้นที่อาคาร แผนที่ถูกออกแบบในกระดาษขนาด A3 และพับ 5 ทบ เพื่อความสะดวกในการพกพาขณะเดินทาง ซึ่งตัวแทนทดสอบการใช้งานจริง (Usability Testing) ระบุว่า ขนาดแผนที่ การพับ การวางลำดับข้อมูลและสถานที่ง่ายต่อการอ่านและการใช้งาน เนื้อหามีประโยชน์ตรงกับความต้องการ และช่วยในการตัดสินใจเลือกสถานที่เที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตราด. (2558). แผนพัฒนาจังหวัดตราด พ.ศ. 2558-2561. สำนักงานจังหวัดตราด. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2560. จากhttp://www.trat.go.th/newweb/uploads/files/plan_58_61.pdf.

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยมาตรฐานที่อยู่อาศัยและชุมชนเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง. ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2547). โครงการจัดทำแผนผังแม่บท เพื่อพัฒนาและออกแบบก่อสร้างโครงการพื้นที่หมู่เกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดตราด. ผังเมืองรวมเมืองตราด.

กระทรวงแรงงาน. (2560). การใช้แรงงานเด็ก. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2560. จาก http://www.mol.go.th/employee/childwork.

Nancy M. Petry. (2002). A comparison of young, middle-aged, and older adult treatment-seeking pathological gamblers. Gerontologist, 2002 (Volume 42, Issue 1), 92-99. Retrieved January 06, 2017. From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11815703.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์, (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (20 มีนาคม 2556). เกณฑ์การแปลความหมาย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฏาคม 2560. จาก http://www.thaiall.com/blog/tag/likert/.

Likert, Rensis. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of psychology, no. 140. 1–55. New York : The Science Press.

David Gibson. (2009). The Wayfinding Handbook Information Design for Public Places. New York: Princeton Architectural Press.

Kevin Lynch. (1960). The Image of the City. USA: The M.I.T. Press.

Sorrows, Molly E., Hirtel, Stephen C. (1999). The nature of landmarks for real and electronic spaces. COSIT 1999: Spatial Information Theory, August 25–29, 1999 Proceedings (LNCS, volume 1661), 37-50.

Ann K. Deakin. (1996). Landmarks as Navigational Aids on Street Maps. Cartography and Geographic Information Systems, 1996 (Volume 23, Issue 1), 21-36. Retrieved September 17, 2019. From https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1559/152304096782512159.

Michon, Pierre-Emmanuel, Denis, Michel. (2001). When and why are visual landmarks used in giving directions?. COSIT 2001: Spatial Information Theory, September 19–23, 2001 Proceedings (LNCS, volume 2205), 292–305.

Agrawala, Maneesh, Zorin, Denis, Munzner, Tamara. (June 2000). Artistic multiprojection rendering. Eurographics Rendering Workshop. 125–136.

Floraine Grabler, Maneesh Agrawala, Robert W. Sumner, Mark Pauly. (August 2008). Automatic Generation of Tourist Maps. Visualization Papers. Retrieved October 11, 2019. from http://vis.berkeley.edu/papers/tmaps/tmaps-SIG08.pdf