กระเบื้องตกแต่งที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ขาว เศษกะลาแมคคาเดเมียและเศษแก้ว

Main Article Content

สุุริยาวุธ ตรีชัย
ศิรสิทธิ์ ศรีนนท์
ธณิกานต์ ธงชัย

บทคัดย่อ

 


งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาการผลิตกระเบื้องตกแต่งจากปูนซีเมนต์ขาว โดยนำเศษกะลาแมคคาเดเมียและเศษแก้วโซดาไลม์ประเภทขวดเบียร์มาผลิตกระเบื้องตกแต่ง วัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะจากการเกษตรที่เกิดขึ้นจากการทิ้งเศษกะลาแมคคาเดเมีย จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปแมคคาเดเมีย เขาค้อ ต.เข็กน้อย อ.เขาค้า จ.เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังนำเอาเศษเป็นการนำแก้วโซดาไลม์ที่ตกค้างตามแหล่งชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้อัตราส่วนเศษแก้วต่อปูนซีเมนต์ขาวที่ร้อยละ 20 : 80 ใช้เศษกะลาแมคคาเดเมียที่ร้อยละ 10, 20, 30 และใช้น้ำร้อยละ 30 และ 35 โดยน้ำหนัก ทำการบ่มที่ 7 วัน และ 14 วัน เพื่อศึกษาสมบัติทางกลและทางกายภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงอัด ความหนาแน่น ร้อยละการดูดซึมน้ำ จากการวิจัยพบว่าการเพิ่มปริมาณกะลาแมคคาเดเมีย ส่งผลให้ค่าความหนาแน่น ค่าความแข็งแรงอัด และร้อยละการดูดซึมน้ำลดลง โดยพบว่า ที่เศษกะลาแมคคาเดเมียร้อยละ 10 และปริมาณน้ำร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก บ่มเป็นระยะเวลา 14 วัน ให้ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นและความแข็งแรงดัด ที่มากที่สุด คือ 2.16 g/cm3 และ 17.47 MPa ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละการดูดซึมน้ำ 6.54 นอกจากนี้ พบว่าอัตราส่วนระหว่างน้ำต่อปูนซีเมนต์ขาวร้อยละ 30 ให้สมบัติทางกายภาพและทางกลที่ดีกว่าน้ำในอัตราส่วนร้อยละ 35 เมื่อพิจารณาระยะเวลาการบ่มพบว่า ที่ 14 วัน ให้ค่าสมบัติทางกายภาพและทางกลที่ดีกว่าในระยะเวลาการบ่ม 7 วัน เนื่องจากชิ้นงานมีระยะเวลาเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันได้อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสามารถนำไปใช้ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต อีกทั้งกระเบื้องปูนซีเมนต์ขาวจะลดขั้นตอนการใช้พลังงานการเผาลงได้ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติพิพัฒน์ ดวงขำและธีรวุฒิ ทองเที่ยง. (2561). การศึกษาสมบัติทางกลและทางกายภาพของกระเบื้องปูนซีเมนต์ขาวที่ผลิตจาก
เศษแก้วเหลือใช้และเส้นใยผักตบชวา. ปริญญานิพนธ์ วศ.บ., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ทศพล มากจุ้ย, วิรัตน์ วรรณะ และสำเริง สังข์สุทธิ์. (2555). อิทธิพลของขนาดอัตราตราส่วนผสมของหินเกล็ดสีและปริมาณน้ำที่มีผล
ต่อสมบัติทางกลและทางกายภาพของกระเบื้องบุผนังที่ทำจากปูนซีเมนต์ขาวและหินเกล็ดสี. ปริญญานิพนธ์ วศ.บ., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
บริษัท ตกแต่งวัสดุใหม่ จำกัด. (2559). กระเบื้องแก้ว. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2563, จาก http://th.kasaro-artedecor.com
พืชเกษตร.คอม. (2557). ผลแมคคาเดเมีย. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2563, จาก https://puechkaset.com
วรพงษ์ เทียมสอน. (2554). ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์และเศษแก้วจากกากเหลือทิ้งอุตสาหกรรม. วารสาร Technology & InnoMag,
38(218), 68-72.
วรรณิภา ปราณีต, นรินทร์ ขัตติวงค์, และอรวรรยา ทิมอยู่ (2554). อิทธิพลของปริมาณน้ำระยะเวลาในการบ่มและอัตราส่วนผสม
ของเศษแก้วต่อสมบัติทางกลและทางกายภาพ ของกระเบื้องปูพื้นปูนซีเมนต์ขาว. ปริญญานิพนธ์ วศ.บ., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ธนิดา ศรีคำแซง. (2544). การรีไซเคิลเเก้ว. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2563, จาก
https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/arts/10000-6.html
Al-Zubaidi, A., and Al-Tabbakh, A. (2016). Recycling Glass Powder and its use as Cement Mortar applications.
International Journal of Scientific and Engineering Research, 7(3), 555-564.
A. Wechsler, M. Ramírez, A. Crosky, M. Zaharia, H. Jones, A. Ballerini, M. Núñez and V. Sahajwalla. (21 August
2011). PHYSICAL PROPERTIES OF FURNITURE PANELS FROM MACADAMIA SHELLS. 18TH INTERNATIONAL CONFERENCE ON COMPOSITE MATERIALS. Retrieved January 10, 2020, from https://www.academia.edu/3036178/PHYSICAL_PROPERTIES_OF_FURNITURE_PANELS_FROM_MACADAMIA_SHELLS
Civil Engineering Forum. (2562). ตัวอย่างโครงสร้างปฏิกิริยาไฮเดรชั่น. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563, จาก
http://www.civilengineeringforum.me/portland-cement-compounds-and-hydration
Dr. Sukangkana Lee. (2553). การทดสอบแรงอัด. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก https://puechkaset.com/
Glass Ceramics. (2558). กลาส-เซรามิก. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2563, จาก http://www.hensonceramics.com/glass-ceramics/index.html
Hama, S. M., Mahmoud, A. S., and Yassen, M. M. (2019). Flexural behavior of reinforced concrete beam
incorporating waste glass powder. Structures, 20, 510-518
Prema Kumar, W.P., Ananthayya, M.B., and Vijay, K. (2014). Effect of Partial Replacement of Cement with Waste
Glass Powder on the Properties of Concrete. International Journal of Structural and CivilEngineering Research, 3(3), 1-6.
Thiemsorn, W. and Kaewthip, P. (2009). Influence of Soda-LimeSilica Cullet on the Properties of Porcelain
Mixture. The Minerals, Metals & Materails Society, 996-1000.