การสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวใหม่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ถือเป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ซึ่งส่งเสริมความโดดเด่น เป็นการยกระดับการพัฒนา ฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวใหม่ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบทางกายภาพของฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริ และสร้างสรรค์เอกลักษณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางออกแบบแหล่งท่องเที่ยว สร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ ผลการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในด้านทรัพยากรและจุดเด่น พบว่าธรรมชาติ และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด คือ 4.49±0.6 ส่วนด้านสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบทางกายภาพพบว่า แหล่งที่ตั้ง และตำแหน่งของแหล่งเรียนรู้มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด คือ 4.38±0.62 และด้านการบริหารจัดการ พบว่าความปลอดภัยภายในโครงการมีค่าความพึงพอใจมากที่สุดคือ 4.30±0.68 จากผลการสำรวจความต้องการเพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในโครงการฟาร์มตัวอย่างพบว่าความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวมีความต้องการมากที่สุด คือ 4.31±0.75 เมื่อได้มีการออกแบบจัดระเบียบสภาพแวดล้อมส่งผลให้มีนักท่องเที่ยว และคณะศึกษาดูงานเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีกิจกรรมที่หลากหลายทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้เวลาอยู่ในโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้การออกแบบโดยใช้แนวคิดสภาพแวดล้อมสร้างสรรค์พื้นที่ฟาร์มตัวอย่างทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ เช่น แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร มีการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรที่หลากหลายจากเกษตรกร ส่งผลให้เกิดพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน ยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มวิชาการและมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว. , กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. , กรมการท่องเที่ยว. , กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560), คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ CREATIVE TOURISM DESTINATION MANAGEMENT. , กรุงเทพฯ.
Chandrasekaran. (1993). FOA Preparing Guidelines on Agrotourism. The Star, 24 Ogos: 20.
Davies, W. P., & Turner, J. C. (1993). Farm tourism and recreation in the United Kingdom. Prooceedings of International Conference on Agrotourism Industry. Kuala Lumpur: Institut Pertanian Malaysia.
Faisala, F. B., and Latifb, M. N. (2010). Design and Character of Architecture of the Agro-Tourism Site in Indonesia and Malaysia. Prooceedings of International Conference on Social Sciences and Humanities UKM 2012.
Hron, J., and Srnec, K. (2008). Agro-Tourism in the context with the rural development. Czech University of Life Sciences Prague.