การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด : กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์ เรือนไทยจำลอง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมนำสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลสำรวจตลาดผู้บริโภค เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและประเมินค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาด วิธีการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับผลจากการศึกษาทุนวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการตลาด เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน ผลการวิจัยจากการสำรวจตลาดพบว่า โดยภาพผลิตภัณฑ์เรือนไม้จำลองจุดเด่นจะเป็นด้านทักษะฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ แต่ควรปรับปรุงรูปแบบให้มีเอกลักษณ์ และ ประโยชน์ใช้สอยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และจากการศึกษาทุนทางวัฒนธรรม ได้เลือกป่าคำชะโนด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผูกโยงกับความเชื่อความศรัทธาของชาวอีสาน มาใช้สร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากศิลปะบ้านเชียงและรูปพญานาคที่พบเห็นได้ทั่วไปในสินค้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้นำเอาลักษณะเด่นของป่าคำชะโนดมาผสานกับบ้านทรงไทยจำลองที่ทางกลุ่มมีทักษะฝีมือในการผลิต ออกแบบเป็นกล่องแห่งความทรงจำประกอบนาฬิกาบอกเวลา แล้วจึงดำเนินการจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ นำต้นแบบสู่การทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการตลาดซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มผู้บริโภคค่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.96 หมายถึงระดับดีมาก และทางกิจการเรือนไทยจำลองได้ดำเนินการผลิตกล่องแห่งความทรงจำอย่างต่อเนื่องจากการเก็บข้อมูลผลลัพธ์จากการพัฒนา 3 เดือนพบว่าแนวโน้มรายได้จากการจัดจำหน่ายสูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ต่อเดือน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
อทิตติยา ทองใบ. 2553.การพัฒนาศักยภาพการจัดการการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว. รายงานการศึกษาค้นคว้า
อิสระ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เพ็ญศรี เจริญวานิช. และคณะ. 2546. การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:
สำนักงานทุนวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แสนศักดิ์ ศิริพานิช. และคณะ. 2547. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่ ภูเก็ต
พังงา และกระบี่: สำนักวานการประสานการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน. สำนักงานกองทันวิจัย.
มหาวิทยาลัยสงขลานัครินทร์.
ศักดิ์ชาย สิกขา. และคณะ. 2560. การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้
สอดคล้องกับความต้องการของตลาด.ทุนสำนักงานอุตสาหกรรมภาค 4 กระทรวงอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.