การศึกษาลักษณะพื้นผิวผ้าสำหรับสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์วัสดุปะติด

Main Article Content

ประทีป สุวรรณโร

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะพื้นผิวผ้าสำหรับสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์วัสดุปะติด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะพื้นผิวผ้าและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์วัสดุปะติด โดยเลือกผ้าจากสถานประกอบการ เขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้ 75 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า พื้นผิวผ้าที่มีค่าน้ำหนักแตกต่างกัน ความหยาบละเอียดต่างกัน จะให้ค่าน้ำหนักของพื้นผิวต่างกัน ความแตกต่างนี้เกิดจากความหนาแน่นและการเรียงตัวของเส้นใยเป็นเส้นทแยงและประสานตัดกันไปมา ผ้าลูกไม้จะให้ลวดลายชัดเจนและสวยงาม ผ้าถักจะให้พื้นผิวฟูไม่คมชัดเหมาะแก่การสร้างพื้นผิวเป็นพื้นหลังภาพ ผ้าบางชนิดทดลองพิมพ์ง่ายเพราะมีความบาง การทดลองพิมพ์และคัดเลือกพื้นผิวโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำการวิเคราะห์คุณสมบัติการติดสี ผลของพื้นผิวและองค์ประกอบภาพทางศิลปะ ลวดลายผ้าแสดงให้เห็นคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ความหยาบ ความละเอียด ความทนทาน เส้น น้ำหนัก และรูปทรง ส่งผลต่อความรู้สึกที่แตกต่างของผลงานที่สร้างสรรค์ ความหลากหลายของพื้นผิวผ้าแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพื้นผิวที่แสดงค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ 2) กลุ่มพื้นผิวที่แสดงลักษณะลวดลายเส้น 3) กลุ่มพื้นผิวผ้าที่แสดงลายเรขาคณิตและลวดลายอิสระ 4) กลุ่มพื้นผิวที่แสดงลักษระลวดลายพรรณพฤกษา กระบวนการสร้างสรรค์ภาพพิมพ์วัสดุปะติด กำหนดรูปแบบและเทคนิคพิมพ์ซ้อนทับ ผลการสร้างสรรค์สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะความแตกต่างของพื้นผิวที่ปรากฏจากการทดสอบการพิมพ์ได้ 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มการจัดองค์ประกอบโดยใช้พื้นผิวที่มีค่าน้ำหนักเป็นจุดเด่น 2) กลุ่มการจัดองค์ประกอบโดยใช้พื้นผิวที่มีลวดลายอิสระและเรขาคณิตเป็นหลัก 3) กลุ่มการจัดองค์ประกอบโดยใช้พื้นผิวที่มีลวดลายพรรณพฤกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร เกิดแก้ว. (2558). การศึกษาผ้าชนิดต่าง ๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTIR, TGA และ DSC เพื่อประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์. วท.ม.,มหาวิทยาลัยศิลปากร,นครปฐม. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://202.44.135.157/ dspace/bitstream/ 123456789/284/1/%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0 %b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%a3.pdf

ธนเดช วรวงษ์. (2557). ศิลปะภาพพิมพ์ช่องฉลุ. Journal Art Klong Hok, 100-123. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://www.journal.rmutt.ac.th:8080/index.php/arts/article/download/291/293.

ปัทมพร ทนันชัยบุตร. (2548). ทำความรู้จักภาพพิมพ์แกะไม้. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 13(3), 32-38.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2541).พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ, 129-131.

ผกามาศ สุวรรณนิภา. (2563). เส้นใยในงานศิลปะ. วารสารศิลปกรรมบูรพา. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/download/244139/165454.

สมศิริ อรุโณทัย. (2559). การวาดเส้นสร้างสรรค์: ภาพพิมพ์. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(3), 161-174.

สายชล มงคล. (2554). การศึกษาชนิดของผ้าที่มีผลต่อวิธีการเย็บวงแขนเสื้อ. คศ.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี, สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2563, จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/ 789/1/124355.pdf

สี แสงอินทร์. (2557). ภาพองค์ประกอบศิลป์: กรณีศึกษาเทคนิคการสร้างงานศิลปะภาพพิมพ์ครั้งเดียว โดยใช้แผ่นพลาสติกรองพื้น. วารสารวิจิตรศิลป์, 5(1), 205-236.