อีโค่ ปริ้นท์ติ้ง: การศึกษาคุณภาพการติดสีจากวัสดุและสารช่วยติดสีจากธรรมชาติ

Main Article Content

ชนากานต์ เรืองณรงค์
รัฐ ชมภูพาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการติดสีของผ้าฝ้ายที่ย้อมสีด้วยวัตถุดิบธรรมชาติและสารช่วยย้อมต่างชนิดกัน ปัจจัยที่ศึกษาคือ ชนิดของใบไม้ และสารช่วยติดสี โดยมีใบไม้ที่ต้องการศึกษา จำนวน 4 ชนิด คือ ใบหูกวาง ใบสัก ใบเพกา และใบยูคาลิปตัส และสารช่วยติด จำนวน 3 ชนิดคือ น้ำสารส้ม น้ำปูนใส และน้ำมะขามเปียก โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ผ้าจากวัสดุธรรมชาติ จากนั้นนำผ้าที่ได้ไปทดสอบวัดค่าสีระบบซีแลบ ผลการศึกษาพบว่า ใบไม้ทั้ง 4 ชนิดให้สีที่แตกต่างกัน ค่า L* ทั้ง 3 ชนิด อยู่ในระดับ 57.48-73.60 ค่า a* เป็นบวกแสดงถึงสีแดง และค่า b* เป็นบวกแสดงถึงสีเหลือง จัดเป็นกลุ่มโทนสีวรรรณะร้อน คือกลุ่มโทนสีเหลือง เหลืองอมเขียว ให้ความรู้สึกแข็งแรงมีพลัง มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกอบอุ่น ความสนุกสนาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าใบเพกาเป็นใบไม้ที่ให้สีที่ชัดเจนที่สุด ลักษณะของลายพิมพ์และสีมีความแตกต่างกันในแต่ละใบ เมื่อใช้สารช่วยติดสีที่แตกต่างกัน ลายพิมพ์ผ้าโดยใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดจะมีสีสันสดใส ลายพิมพ์ผ้าโดยใช้น้ำปูนใสเป็นสารช่วยติดจะให้สีเอิร์ทโทน ลายพิมพ์ผ้าโดยใช้น้ำมะขามเปียกเป็นสารช่วยติดจะให้สีหม่นและมืดลง โดยผ้าแต่ละผืนมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่เมื่อเปรียบเทียบความชัดเจนของลวดลาย พบว่า ลายพิมพ์ผ้าที่ใช้สารช่วยติดเป็นน้ำปูนใส มีลักษณะของลวดลายที่ชัดเจนของใบไม้ทั้ง 4 ชนิด       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชญตว์ อินทร์ชา. (2562). การศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเพลทแม่พิมพ์เจลลาตินด้วยการใช้สีธรรมชาติในท้องถิ่นของ

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(2), 109-124.

ณภัทร ยศยิ่งยง. (2557). การพัฒนาของสีและเฉดสีของผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยวัสดุสีธรรมชาติ (รายงานการวิจัย). สืบค้นเมื่อ

มิถุนายน 2564, จาก https://dspace.rmutk.ac.th/handle/123456789/1506

ปาเจรา พัฒนถาบุตร. (2551). กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปกร

ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์ พริยะ แก่นทับทิม และประเทืองทิพย์ ปานบํารุง. (2557). การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้ามัดย้อมด้วยการย้อมจากสีธรรมชาติ. Interdisciplinary Research Review. 9(1) 81 - 89

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. การวัดสีและความเข้มสี (ภาคผนวก). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564, จาก

https://research.psru.ac.th/files/res_che2553/resche_files/402_appendix.pdf

วัลภา แต้มทอง และสุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ. (2560). ผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อค่าดัชนีความขาวและความแข็งแรงของ

เปลือกข้าวโพด. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 9(17), 127-136.

วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์ และณัฐสิมา โทขันธ์. (2564). การเพิ่มมูลค่าบัวหลวงด้วยภูมิปัญญาผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ. วารสารการ

พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(2), 205-212.

สมชญา ศรีธรรม และคณะ. (2563). ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษา ป่า

ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 17-32.

สำนักงานนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2554.

กรุงเทพมหานคร.

สุวิมล หงษ์สาม ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา และพิชัย สดภิบาล. (2557). ศึกษาและพัฒนากระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติ

บนผ้าฝ้ายด้วยห้อมเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(2), 72-85.

สุวิมล อุทัยรัศมี. (2560). ปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัส 9 สายต้น ที่ปลูกในประเทศ

ไทย.วารสารวนศาสตร์, 36(1), 1-10.

โสภาพรรณ ซอหะซัน. (2562). การพัฒนาสารกั้นสีธรรมชาติจากแป้งเมล็ดขนุนสำหรับผ้าบาติก วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

(คศ.ม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์ พีรพงษ์ หนูแดง บุณฑริกา ปริมาณ สถาพร จิรบูรณ์ และศุภาสี วงษ์ทองดี. (2560). การพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกด้วยเทคนิคผสมโดยใช้สีธรรมชาติ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2),

-222.