การเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร: ผลของความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลือและอุณหภูมิในการย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากกลีบดอกดาวเรืองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Main Article Content

นุจิรา รัศมีไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของอุณหภูมิและความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลืองในการย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากกลีบ


ดอกดาวเรืองต่อปริมาณไนโตรเจน ค่าสี ความคงทนของสีต่อการซัก และแสง 2) การคัดเลือกลวดลายมัดย้อมสีจากกลีบดอกดาวเรืองสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก การทดลองใช้ความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลืองในอัตราส่วนถั่วเหลืองต่อน้ำ 3 ระดับ คือ 1:5 1:10 และ 1:15 และอุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 30 60 และ 90 °C วางแผนการทดลองแบบ 3x3 แฟคทอเรี่ยลใช้แผนการทดลองสุ่มตลอด การคัดเลือกลวดลายผ้ามัดย้อมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เป็นผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลือง อุณหภูมิ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลืองมีผลต่อปริมาณไนโตรเจน ค่า L* a* b* C* และ h* (p£.05)  การใช้ความเข้มข้นของน้ำถั่วเหลืองในอัตราส่วน 1:10 และอุณหภูมิ 90 °C ให้ผ้าฝ้ายย้อมสีมีค่าเฉลี่ยปริมาณไนโตรเจน 0.47 กรัมต่อผ้าหนัก 100 กรัม มีค่าเฉลี่ย L* a* b* C* และ h* อยู่ที่ 59.41 9.48 50.06 และ 79.28 ตามลำดับ ความคงทนของสีต่อการซักด้านเปลี่ยนสีในระดับ 3 และการเปื้อนสีในระดับ 4.5 ความคงทนของสีต่อแสงในระดับ 3.5 2) ผลการประเมินลวดลายมัดย้อม 3 กลุ่ม พบว่า ลวดลายหลายเหลี่ยมความคิดเห็นโดยรวมมีค่ามากที่สุด (4.27) รองลงมาลวดลายเส้นตรงและเส้นเฉียง (4.17) และลวดลายหลายเส้นโค้งและวงกลม (4.07)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). สารช่วยย้อม. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561, จาก

https//www.qsds.go.th/qsis_netu/inside.

จุฬาลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2561). ผลการตกแต่งด้วยไคโตรซานต่อการติดสีจากกลีบดอกดาวเรือง. ปร.ด.,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

นุจิรา รัศมีไพบูลย์. (2543). สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย้อมผ้าไหมด้วยกลีบดอกดาวเรือง. ค.ศ.ม.,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

สุรีย์ แถวเที่ยง. (2552). เครื่องดื่มน้านมถั่วเหลืองผสมแครอท. ค.ศ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม .(2557). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้ามัดย้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

AATCC. (2010). Technical Manual Volume 85. North Carolina: American Association of Textile Chemists and

Colorists.

Jothi, D. (2008). Extraction of Natural Dyes from African Marigold Flower (Tagetes ereecta L.) for Textile.

AUTEX Research Journal. 8(2), 22350-22354.

Harlapur S. F., Harlapur Sujata F. & Nagaswarupa H. P. (2018). Marigold: Eco-friendly Natural Dye for Fabrics.

Materialtoday Proceedings. 2018(5), 22350-22354.

Loum, J., Lukyambuzi, H. and Kodi, P. (2013). Effect of Mordants of Dye from Vernonia Amygdalina on Cotton

Fabrics Coloration. Journal of Language Tecnology & Enterprenenurshin in Afica. 4(2), 17-27.

Young, J. N. and Shin, H. L. (2014). Natural Dyeing of Soybean Protein Fabrics Gallnut. Fashion and Textile Research

Journal. 16(3), 462-468.

Zerin, I. and Foisal, A. B. M. (2016). Effect of Mordanting Process on Cotton Dyeing with Acacia Catechu Effect

of Mordanting Process on Cotton Dyeing with Acacia Catechu. The 3rd Textile Research Conference (TRC), 29 October 2016, Dhaka, Bangladesh.