ความพึงพอใจในเสื้อผ้าสูงอายุของกลุ่มชมรมบุคคลต้นแบบภูมิปัญญาผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วราภรณ์ บันเล็งลอย
กัญญารัตน์ เสนาดี
ณัฐพงษ์ ปัญญาธิคุณ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเสื้อผ้าผู้สูงอายุจากแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ และการวิเคราะห์ความต้องการแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน โดยใช้กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มชมรมบุคคลต้นแบบภูมิปัญญาผู้สูงอายุ รุ่นที่ 9 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 คน วิธีการดำเนินการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อเสื้อผ้าผู้สูงอายุสตรีต้นแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60 - 64 ปี มีสถานภาพสมรส อาชีพแม่บ้าน รายได้ต่อเดือน 20,001 บาทขึ้นไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านขายเสื้อผ้า รองลงมาตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า และจากอินเตอร์เน็ต เหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้า คือ ราคา ลักษณะเนื้อผ้าที่เป็นเส้นใยธรรมชาติเนื้อผ้าปานกลางนุ่ม โอกาสในการซื้อเสื้อผ้าของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ เห็นแบบชุดแล้วชอบ ความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าคือมากกว่า 5 เดือนครั้ง ค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าครั้ง 1,001 – 2,000 บาท ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าเอง และแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดทั้ง 5 ด้านต่อการออกแบบชุดสตรีผู้สูงอายุคือ ด้านประโยชน์ใช้สอยโดยเฉลี่ยพึงพอใจมากสุด (  = 4.69) ด้านความสวยงามโดยเฉลี่ยพึงพอใจมากสุด ( = 4.62) ด้านความปลอดภัยโดยเฉลี่ยพึงพอใจมากสุด ( = 4.59) ด้านเทคนิคและวิธีตกแต่งโดยเฉลี่ยพึงพอใจมากสุด ( = 4.57) และ ด้านเนื้อผ้าและผิวสัมผัสโดยเฉลี่ยพึงพอใจมากสุด ( = 4.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Tuemaster Admin. (2563). ข่าวสารและเกร็ดความรู้ทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก

https://www.baanjomyut.com

จิตรพี ชวาลาววัณย์. (2539). เสื้อสูทสตรีเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เอส พี เอฟ พริ้นติ้งกรุ๊ป

ฐิติมา พุทธบูชา, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และกาญจนา ลือพงษ์. (2563). การออกแบบและพัฒนาเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริม

สุขภาวะสำหรับสตรีสูงวัย. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 34-45.

ณัฐชนา นวลยัง. (2550). วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายจากอดีตสู่ปัจจุบันของภาคใต้.ในการประชุมวิชาการด้ามนุษย

ศาสตร์และสังคม ระดับชาติครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564, จาก http://human.skru.ac.th/husoconference/conf/O2.pdf

นารีรัตน์ กระเทศ. (2552). โครงการออกแบบเสื้อผ้าด้วยผ้าพื้นเมือง อำเภอไร่ จังหวัดอุทัยธานี.

ประทีป จีนงี่, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ชูศรี วงศ์รัตน์, ประณต เค้าฉิม, ยุทธนา ไชยจูกุล, ทัศนา ทองภักดี, และพวงรัตน์ เกษมแพทย์.

(2562). การพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21.วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 12(2), 17.

พวกผกา คุโรวาท. (2535). คู่มือประวัติเครื่องแต่งกาย. กรุงเทพมหานคร:รวมสาสน์.

มณฑา จันทร์เกตุเลี้ยด. (2541). วิทยาศาสตร์สิ่งทอเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร:หอรัตนชัยการพิมพ์.

เยาวภา ปฐมศิริกุล และคณะ. (2560). พฤติกรรมการซื้อและโอกาสการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าของ

ลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 178 – 192.

เยาวภา ปฐมศิริกุล ,โชติรัส ชวนิชย์ ,เริม ใสแร่ม และ รัฐพล สันสน (2560).พฤติกรรมการซื้อและโอกาสการตัดสินใจซื้อสินค้า

กลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าของลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศไทย.วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 178.

รสสุคนธ์ พราหมณ์เสน่ห์. (2546). ตำราตัดเสื้อสตรีฉบับก้าวหน้า. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วงศ์สว่างการพิมพ์ จำกัด.

วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์. และคณะ. (2549.) การสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพ ของผู้สูงอายุ 4 ภาค ของไทย. สถาบันเวชศาสตร์

ผู้สูงอายุ, นนทบุรี.

วิษณุ บุญมารัตน์. (30 มีนาคม 2558). ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ.สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564,จาก

http:/www.lokwannee.com/web2013/?P.

ศศธร ศรีทองกุล. (2556). มัดย้อม. กรุงเทพมหานคร : เอ็มไอเอส, น. 4.

สาคร ชลสาคร. (2553). รูปร่างกับโครงสร้างเสื้อผ้า (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเบิ้ลเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

สิรัชชา สาลีทอง. การพัฒนาแบบตัดต้นแบบเสื้อผ้าสตรี อายุ 50 ปีขึ้นไป ตามลักษณะรูปร่างสตรีไทย. สาขาวิชาการ

ออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 25 สิงหาคม 2563.

อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2018). นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าสิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับ

สตรีผู้สูงอายุ.วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 5(2), 2 – 26.

อัจฉารา จะนันท์ และคณะ. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้สูงอายุสตรีใน

กรุงเทพมหานคร. Kasetsart Journal of Social Sciences,37,178 – 187.