การวิเคราะห์ภาพพุทธประวัติในจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์สู่การสร้างสรรค์นวัตศิลป์ แนวเรื่องศรัทธา

Main Article Content

สมพร ธุรี

บทคัดย่อ

 


            การวิจัยนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ เนื้อหาสาระ คติความเชื่อ องค์ประกอบศิลป์ สัญลักษณ์ในการแสดงออกภาพพุทธประวัติในจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-9) เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์นวัตศิลป์แนวเรื่องศรัทธา และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนให้มีส่วนร่วมในผลงาน ติดตั้งภายในเจดีย์พุทธคยา วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี และเพื่อให้เกิดการรับรู้ภาพพุทธประวัติ นำไปสู่ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน และเป็นการสืบสานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และเป็นศูนย์รวมจิตใจ เกิดคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม และเป็นการประสานสัมพันธ์ระหว่างวัด ชุมชน สังคม


            จากการศึกษาวิเคราะห์ ตีความภาพพุทธประวัติในจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-9) ได้แก่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรมหาวิหาร วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เลือกวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนังที่มีความโดดเด่นด้านพุทธประวัติ ดังเช่นประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน โดยเลือกที่มีการแสดงออกของความศรัทธา(ความเชื่อ ความเลื่อมใส) ในพระพุทธศาสนา ที่มีรูปแบบสะท้อนรูปทรง เนื้อหา องค์ประกอบศิลป์ อันนำไปสู่ความศรัทธา และสรุปการวิเคราะห์สู่การสร้างสรรค์นวัตศิลป์ ประกอบด้วยศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี


            ผลงานสร้างสรรค์นวัตศิลป์ แนวเรื่อง ศรัทธา เกิดจากการสรุปวิเคราะห์ภาพพุทธประวัติ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลงานจิตรกรรมจาก 2 มิติ สู่ 3 มิติ เสมือนจริง ที่มีผู้คนปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมในผลงาน จำนวน 4 ผลงาน ส่งผลการรับรู้ภาพประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน นำไปสู่ความศรัทธาที่ดีขึ้น เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเกิดความงาม ความดี ความจริง เป็นการยกระดับจิตใจ เกิดคุณธรรมที่ดีงาม และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม


 


คำสำคัญ : พุทธประวัติ จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ นวัตศิลป์ ศรัทธา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2533). จิตรกรรมไทยประเพณีชุดที่ 001 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2534). จิตรกรรมไทยประเพณี ชุดที่ 001 เล่มที่ 2 วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สถาบันทักษิณคดีศึกษา. (2529). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่มที่ 9. สงขลา: มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา.

สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ เถาทอง.(2556). สหวิทยาการ : การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงแบบบูรณาการศิลปะ. ชลบุรี :

คณะศิลปกรรมศาสตร์.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปะวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.