แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมจากแนวคิดพฤฒพลัง

Main Article Content

รัฐไท พรเจริญ
นิธิศ เกียรติสุข

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมในผู้สูงอายุประเทศไทย จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ทั้งในประเทศไทย ซึ่งทำการศึกษาผ่านแนวคิด Active aging หรือแนวคิดพฤฒพลังที่เป็นแนวคิดที่แสดงถึงภาวะสุขสมบูรณ์ และการยกระดับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการวิเคราะห์รูปแบบของกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางสังคม โดยใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรมผ่านกิจกรรมทั้งหมด16กิจกรรมที่ถูกคัดเลือกเป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการสนับสนุนทางสังคม การได้รับคำปรึกษาทำให้ผู้สูงอายุมั่นใจทดลองทำในกิจกรรมที่ไม่เคยทำ และในบทบาทผู้ให้คำปรึกษาในจะเป็นการสร้างความภาคภูมิใจจากการได้แบ่งปันความรู้แก่ผู้อื่น     2) ด้านทฤษฎีกิจกรรม กิจกรรมที่สามารถการตอบสนองความต้องการต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมรวมไปถึงระดับกิจกรรมที่เหมาะสม รวมไปถึงการสร้างรายได้จากการทำกิจกรรมที่สามารถสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่ผู้สูงอายุ พบว่าส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางสังคมในผู้สูงอายุ 3) หลักการมีส่วนร่วมจากกิจกรรมทั้งหมด ไม่เกิดการมีส่วนร่วมครบทั้ง 4 หลักการได้แก่ การตัดสินใจ, การปฏิบัติ, ประโยชน์ และการประเมินผล พบว่ารูปแบบกิจกรรมไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมทั้ง 4  หลักการ 4) ด้านหลักการออกแบบ พบว่าสัมพันธ์กิจกรรมที่มีใช้งานอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ และไม่ครอบคลุมในรูปแบบของกิจกรรมในเชิงสังคม หลักการออกแบบในกิจกรรมของผู้สูงอายุเป็นการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องการใช้งานทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้งาน, ความเข้าใจ และความคุ้นชิน, การคำนึงถึงความปลอดภัย, ความสวยงามของอุปกรณ์ และการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์อย่างสูงสุด ผลจากการศึกษาสามารถสังเคราะห์ได้เป็นหลักการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคมด้วยการส่งเสริมศักยภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างการรับรู้ความมั่นใจ, การสร้างแรงจูงใจ และการอำนวยความสะดวก เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.dop.go.th/

th/know/side/1/1/335

เชียง เภาชิต และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(94),

-127

วชิรวัชร งามละม่อม. (3 กุมภาพันธ์ 2559): ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564,

จากhttp://learningofpublic.blogspot.com/2016/02/blog-post_79.html

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ, ณัฏฐพัชร สโรบล และธนิกานต์ ศักดาพร. (2555). ลักษณะการดำเนินงานกิจกรรมของ

ผู้สูงอายุ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด

Cobb, s. (1976). Social support as a moderator of life stress. Phychosom Med. 38:300-14

Fisher, B and Specht, D. (1999). Successful aging and creativity in later life. Journal of Aging and Study.

(5):457-472

Garatachea, N et.al. (2009). Felling of Well Being in Elderly People: Relationship to Physical Activity and

Physical Function. Archives of Gerontology. 48:306-312

Greaves, c. (2006). activity on the health andwell-being of socially isolatedolder people: outcomes from a

multi-method observational study. JRSH, 126(3), 134-142

Herzog, A et.al. (1989). Age differences in productive activities. Journal of Gerontology. 44(4):129-138

HSU, H. (2008). Does social participation bt elderly reduce mortality and cognitive impairment?.

Aging&Mental Health. 11(6):699-707

Kruse, N. (1987). Life stress, social support, and self-Esteem I an elderly population. Psychology and Aging,

(4), 349-356

Post Today. (20 เมษายน 256): สสส.เตือนอีกไม่เกิน15ปีวัยทำงานแบกภาระเลี้ยงผู้สูงอายุ-เด็ก. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน

, จากhttps://www.posttoday.com/social/general/490983

Reitzes, D et.al. (1995). Acticities and self-esteem: contuing the development of activity theory. Research

on Aging. 17(3):260-277

World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. geneva: world health

organization. Madrid : UNFPA

Zheng, Z et.al, (2016). Theoretical model of special product design for the elderly. Art and Design Review,

1-7