การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนงิ้วราย จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดหัวข้อดังนี้ 1. เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนงิ้วราย จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนงิ้วราย จังหวัดนครปฐมเก็บข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการและแบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้กระบวนการออกแบบ ได้แก่ การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Corporate identity) การวิเคราะห์กราฟิกและโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ (Design analysis) และต้นแบบ (Prototype) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาอัตลักษณ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ผู้วิจัยนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนงิ้วราย มาใช้ออกแบบ พบว่า ผลิตภัณฑ์สามารถเป็นที่จดจำ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดี โดยสรุปอัตลักษณ์ของชุมชนงิ้วราย ดังนี้ 1. สถานีรถไฟวัดงิ้วราย 2. ลักษณะบ้านทรงไทย 3. การขนส่งทางเรือ 4. วิถีชุมชนเกษตร ผลการประเมินความพึงพอใจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนงิ้วราย จังหวัดนครปฐม มีผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ( = 4.32 , S.D. = 0.75) 2. การประชาสัมพันธ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนงิ้วราย ผู้วิจัยเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพราะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยจัดตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ ภายใต้ชื่อร้าน “Ng Coconut Oil” เพื่อประชาสัมพันธ์และขายสินค้าออนไลน์ พบว่า มีผู้พบเห็นสินค้ามากขึ้น และชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าออนไลน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกศริน รัตนพรรณทอง. (2555). การวิเคราะห์เนื้อหาการประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการตลาดของสินค้าอุปโภคบริโภค
บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ. (นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ ฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทมา กระแสเสวตร. (2558). การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ปุ่น คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ: แพคเมทส์.
พลวัต พฤกษ์มณี (2558). สามเหลี่ยมความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิท วัส รุ่งเรืองผล. (2545). หลักการตลาด Principle of Marketing. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. และคณะ. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 19-21.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press. London, UK. 4. Marshall, D.