บทความการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ ชุด “ สังขารการปรุงแต่งอัตวิสัยวิปลาสของบุคคล สู่การสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์”

Main Article Content

สุรชาติ เกษประสิทธิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ปัจจุบัน มีลักษณะรูปแบบ เนื้อหา และแนวคิดการพัฒนา ต่อเติม ออกไปจากทัศนศิลป์กระแสหลัก  มีทั้งการคิดแบบการท้าทาย และความคิดต่อต้าน ตลอดจนกระทั่งเป็นการคิดต่างไปจากหลักการคุณค่าของศิลปะ ที่ยึดถือกันมาจนกลายเป็นกระแสหลักในปัจจุบัน การเลือกสรรผสานนำเอาข้อดีจุดเด่นของศิลปะอื่น ๆ ในอดีตและปัจจุบัน มาสร้างความบันดาลใจ นำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน  เกิดรูปแบบ เนื้อหา แนวความคิด กระบวนแบบนวัตกรรมศิลปะแบบใหม่ ๆ ที่แตกต่างพัฒนาออกไปจากเดิมเป็นสำคัญ  ในการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ “ สังขารการปรุงแต่งอัตวิสัยวิปลาสของบุคคล สู่การสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์” ชุดนี้  มีหลักเกณฑ์การจำแนกการสร้างสรรค์ศิลปะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ศิลปะเป็นภาษาแห่งความคิด หรือภาษาแห่งความหมาย (instrumentalism) ศิลปะเป็นภาษาแห่งความงาม (formalism) และ ศิลปะเป็นภาษาแห่งอารมณ์และความรู้สึก (expressivism)  เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ชุดนี้ เกิดการวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมทัศนศิลป์อย่างใหม่ ด้วยการนำวิจิตรศิลป์สองประเภท มาประยุกต์ประสานกัน จิตรกรรม (painting) วาดเส้น (drawing) และวัสดุสื่อประสม หรือ ทัศนศิลป์ (visual Arts) กับโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นกวีนิพนธ์ หรือกวีทรรศน์ (poetry) ที่สามารถมองเห็นรับรู้ดูด้วยตาเหมือนกัน แต่มีภาษาความงามแตกต่างกัน เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองและพัฒนา โดยได้ศึกษาลงไปสู่องค์ความรู้ทางพุทธธธรรม กับ องค์ความรู้การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ บูรณาการเข้าด้วยกัน  โดยศึกษาค้นคว้านำมาสร้างเสริมและพัฒนาผสานกัน  มีกระบวนการทำงานอย่างระบบขั้นตอนชัดเจน  เริ่มต้นจากนามธรรมแนวความคิด  ที่ปรุงแต่งปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ คุณค่าสุนทรียภาพของทัศนศิลป์ได้แก่ทัศนธาตุ จุด เส้น สี แสง เงาและที่ว่าง หรือสุนทรียธาตุของทัศนศิลป์  และภาษาถ้อยคำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร เป็นภาษาความงามของกวีนิทรรศน์ ที่มีอรรถรสตามหลักอลังการศาสตร์ของศิลปะประเภทวรรณศิลป์  การเข้าถึงคุณค่าแห่งสุนทรียภาพศิลปะทุกประเภทนั้น มีจิตใจ หรือมโนวิญญาณ ซึ่งมีคุณสมบัติการนึกคิดปรุงแต่ง แปลสารัตถะ แก่นสาร ความหมายของรูปธรรมและนามธรรมของศิลปะ  ให้ประจักษ์ซาบซึ้ง เข้าใจในคุณค่าแห่งศิลปะ  สัมฤทธิผลการวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ ชุดนี้ มีจำนวนผลงาน ทั้งหมด 9 ชุด  ด้วยกลวิธีและกระบวนการสร้างสรรค์ แบบวาดเส้นผสมผสานจิตรกรรม และการใช้วัสดุสื่อประสมประเภทสําเร็จรูป หรือวัสดุเหลือใช้ ประกอบด้วย ตลับเทปคลาสเซท ของดนตรี หรือเพลงสากลต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์มีรสนิยมชื่นชอบส่วนตัวเป็นพิเศษ ที่ได้เก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมาก  มาเป็นส่วนสำคัญของการวิจัยสร้างสรรค์  ด้วยการติดผนึกวัสดุประเภทสําเร็จรูปดังกล่าวนี้ประกอบลงไปในผลงาน รวมทั้งการระบายสีแบบเก็บซ่อนฝีแปรงเน้นความคมชัดของรูปทรง (linear painting) สลับกับการระบายสีแบบแสดงร่องรอยและฝีแปรง (painterly painting) แสดงความเคลื่อนไหวสลับกัน ส่วนวัสดุการวิจัยสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ประกอบด้วย ปากกาลบคำผิดสีขาว (correction pen) ดินสอไขสีขาวปากกาเคมี สีเทียน (oil pastel) สีน้ำมัน สีอะคริลิก และ สีน้ำมัน  บนผ้าใบ ที่มีขนาดผลงานแตกต่างกัน รูปแบบกึ่งนามธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ อย่างเหมาะสมเป็นเอกภาพ  ทั้งรูปแบบ (form) เนื้อหา (content)  และแนวคิด ตลอดจนกลวิธี (technique) การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์  ที่มีวัตถุประสงค์แสดงความสัมพันธ์กันรำหว่างความทรงจำ ความรู้สึกนึกคิด และความคิดเห็น หรือทิฏฐิ  ที่มีลักษณะวิปลาส แสดงอาการความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง กับความคิดนึกปรุงแต่งอัตวิสัยวิปลาสของบุคคล  จึงสำแดงออกมาสู่การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์  ประกอบด้วยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ที่การผสมผสานกับกวีทรรศน์ หรือกวีนิพนธ์ ที่สำแดงอัตลักษณ์ของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา รักษ์มณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามหลักทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสาร จำกัด.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ:บริษัทสหมิกธรรมจำกัด

พระยาอนุมานราชธน. (2531). การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระราชวรมุนี(ป.อ. ปยุตฺโต). (2529). พุทธธรรม(พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525).พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์.

รอฮีม ปรามาส. (2548). อาณาจักรล่องหน (Invisible Word Exploring the Unseen ,Piers Bizony) แปลโดย รอฮีม ปรามาส, กรุงเทพฯ: สนพ.มติชน”

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2544) . ทัศนศิลป์วิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สันติสิริ.

สุรชาติ เกษประสิทธิ์. (2562). การสร้างสรรค์ทัศนศิลป์กวีทรรศน์; ชุดสังขารการปรุงแต่งประสบการณ์แห่งบุคคล (The

Creation of Visual Arts: Mental Formations (Sankhara), the Formed of an Individual Experience”).

พิษณุโลก: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมชั้นสูง.กรุงเทพมหานคร:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่งจำกัดมหาชน.

https://www.google.co.th/สัญลักษณ์แสดงสี+ฉัพพรรณรังสี

https://www.google.co.th/search?qทฤษฎีควอนตัม (Quantum Physics) &rlz