การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรค สำหรับ เกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ

Main Article Content

ธนัง ชาญกิจชัญโญ
วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์
ณัฐพงค์ จันจุฬา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคสำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคสำหรับเกษตรกร                         กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ผู้วิจัยได้แบ่งแนวทางในการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ 1.การศึกษาลักษณะทางกายภาพ                   รวมถึงข้อมูลด้านต่าง ๆ ของดอกเบญจมาศปลอดโรคพบว่าต้นอ่อนเบญจมาศปลอดโรคจะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการก่อนนำไปลงถาดเพาะเพื่อขยายพันธุ์ จากนั้นจึงทำการแจกจ่ายให้กับเกษตรกร 2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคสำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนการออกแบบ พบว่าสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญต่อการออกแบบคือ รูปแบบ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ขั้นการออกแบบ ผู้วิจัยได้นำผลจากการศึกษามาทำการสรุปเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์จำนวน 3 รูปแบบ และนำไปประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 คน เพื่อทำการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมเพียง 1 รูปแบบ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคเพื่อการขนส่งต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคสำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ จากเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 100 คน ซึ่งเป็นเครือข่ายเกษตรกรของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ต้นกล้าเบญจมาศปลอดโรคสำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.49) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.72) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้งหมด 2 ด้านพบว่า ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.65) และด้านกราฟิกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.41) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.78)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2558). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ดารา ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2557). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ธนภร เหมือนใจ. (2562). ปัจจัยและกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการขนส่งสินค้าของผู้

ประกอบธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 จังหวัดนครนายก. (การค้นคว้าอิสระปริญญา

มหาบัณฑิต) . พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม. (2558). อนาคตเกษตรกรรมไทย. เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดีสถาบันนโยบาย

สาธารณะ มหาลัยเชียงใหม่.

ประชิด ทิณบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พงศกร ศรีสม. (2561). ศึกษาวิธีการบรรจุหีบห่อในการขนส่งไม้ทนแล้ง สกุลฮาโวเทีย. (ปริญญา

วิทยาศาสตรบัญฑิต).ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ภิญญาพัชร์ สวัสดิ์กุลนิธิ ณัฏวรัตน์ ขจัดภัย และปราณี เท่ากล่าง. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑผลิตภัณฑสมุนไพรจากดอก

อัญชันสําหรับกลุมวิสาหกิจชุมชนนฤเบศ เครื่องหอมสมุนไพร&สปา ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา .

วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2),183-184.

มณฑา ลิมปิยประพันธ์. (2556). หลักพืชกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เรวัต สุขสิกาญจน์ และเจษฎา สุขสิกาญจน์. (2564). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรแตงกวา กลุ่มวิสาหกิจ

ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ตำบลขุน ทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสถาปัตยกรรม

การออกแบบและการก่อสร้าง, 3(3), 89.

วิศิษฏ์ เพียรการค้า. (2561). การออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2553). ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวิวัฒนาพานิช.

สมนึก ชัยดรุณ และอิทธิฤทธิ์ อึ้งวิเชียร. (2559). การวิจัยและพัฒนาการผลิตต้นพันธุ์เบญจมาศปลอดโรคเพื่อการส่งเสริมและ

ถ่ายทอด. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สุรภา วงศ์สุวรรณ. (2562). กระบวนการของงานเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ของญี่ปุ่น

จากมุมมองไทย. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10 (2), 213-214.

สิฐพร พรหมกุุลสิทธ. (2565). การออกแบบและพััฒนาบรรจุุภััณฑ์์ผลิิตภััณฑ์์สตรอว์์เบอร์รีอบแห้้ง จ.เชีียงใหม่. วารสารจิตรศิลป์

คณะวิจิตรศิลป์ มหาลัยเชียงใหม่, 13(1),201.

อานัฐ ตันโช. (2551). เกษตรธรรมชาติประยุกต์แนวคิดหลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. ปทุมธานี: สำนักงาน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

อนุสรา มูลป้อม และแพรรวี เคหะสุวรรณ. (2557). บรรจุภัณฑ์สำหรับผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูป

ที่ดินเพื่อการเกษตร.