การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม: ศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์และปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

สมหมาย มาอ่อน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยสร้างสรรค์“การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม” ศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์และปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มีแนวคิด เรื่องการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม ผ่านการเชื่อมโยงศิลปิน ผู้ชม เข้ากับพื้นที่วิจัยโดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรมร่วมสมัย แนวคิดทฤษฏีศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ และต้นทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ ร่วมกับความเชี่ยวชาญ แนวคิด ประสบการณ์ ความทรงจำ และการเผชิญหน้ากับวัสดุที่ใช้สร้างรูปทรงผลงาน โดยอธิบายวัตถุประสงค์สองในสามข้อของการวิจัย คือ 1) สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย 5 ชุดผลงาน ตามกระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรม และแนวคิดศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับพื้นที่วิจัย และ 2) เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ผ่านการติดตั้งและจัดวางสู่สาธารณะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่สัมพันธ์กัน 2 ขั้นตอน คือ 1) ปฏิบัติการศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมศิลปะ และ 2) สร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์ ทักษะเชิงช่าง และจินตนาการส่วนบุคคล อย่างเป็นอิสระ ผลการวิจัยแสดงลักษณะผลงาน จากแนวปฏิบัติศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ในขอบเขตพื้นที่วิจัย ผ่านการติดตั้งและจัดวาง จำนวน 7 ชุดผลงาน เผยแพร่สู่สาธารณะผ่านนิทรรศการ “การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม” ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร วัดบึงภูเต่า จังหวัดสุโขทัย และสื่อสังคมออนไลน์เพจ “การเดินทางเมื่อวันเพ็ญเดือนสาม” ผลจากปฏิบัติการศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ร่วมสร้างสรรค์ได้รับประสบการณ์ใหม่ และยึดอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก มีชีวิตดีขึ้น สิ่งแวดล้อมในชุมชนบริเวณศูนย์ปฏิบัติการร่วมสร้างสรรค์ เปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศูนย์เรียนรู้ จำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่มีชื่อเสียงของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะสงฆ์หนเหนือ. (2552). ปัญญาสชาดก. กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์.

ณัชชา เอกนาวา. (2557) .กระแสการสร้างสรรค์ศิลปะสื่อประสมของศิลปินหัวก้าวหน้าในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2528-2556. มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาทงฤษฎีศิลป์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อ 15ตุลาคม2564, จาก

https://dictionary.orst.go.th/index.php: https://dictionary.orst.go.th/

สุธิดา มาอ่อน. (2565). ศิลปะแห่งการร่วมสร้างสรรค์ ในชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย.

วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (1), 33.

โอชนา พูลทองดีวัฒนา. (2561). ประวัติสุนทรียศาสตร์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.

Bishop, C. (2006, February). The Social Turn: Collaboration And Its Discontents. Art Forum, 6 (6), p.

Collingwood, R. G. (1958). The Principle of Art Theory. New York: Oxford University Press.

Dolores Galindo. (n.d.). Theories of Participation and Collaboration in Art. Retrieved January 22, 2021,

from Goldsmiths.academia.edu/DGalindo:

https://www.academia.edu/8902589/Theories_of_Participation_and_Collaboration_in_Art_How_these_factors

_generate_meaning_in_cultural_projects

Farlex Inc. (2003-2021). The Free Dictionary by Farlex. Retrieved November 20, 2020, from The Free

Dictionary by Farlex: https://www.thefreedictionary.com/collaboration

Laia Guillamet, D. R. (2017). The Double Face of Collaborative Art: The Exchange of Theory and

Practice. Retrieved April 2019, from Interartive a Platform of Contemporary Art:

https://interartive.org/2013/10/collaborative-art

Bourriaud, N. (2002). Relational Aesthetics. Dijon, France: Les Presse Du Reel.