การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนเพื่อการใช้สอยในสังคมยุคใหม่

Main Article Content

เข็มชาติ เชยชม
จุฑาทิพย์ นามวงษ์
นฤมล เลิศคำฟู
สุรพงษ์ ปัญญาทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาสำรวจข้อมูลสถานการณ์การใช้ประโยชน์เปลือกทุเรียน ศึกษาพฤติกรรม และความต้องการด้านการใช้สอยผลิตภัณฑ์ในการดำรงชีวิตของคนยุคใหม่ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอย และเฟอร์นิเจอร์จากเปลือกทุเรียน ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่หรือผู้สนใจทั่วไป ใช้กระบวนการวิจัยแบบประยุกต์ (Applied Research) ทำการวิจัยเชิงสำรวจ และทดลองประชากรที่ศึกษาเป็นผู้สนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอย สินค้าตกแต่งบ้าน และในสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สอย และสินค้าตกแต่งบ้านในร้านจำหน่ายทั่วไป และในสังคมออนไลน์รวม 375 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญในการเลือกผู้ตอบแบบสอบถาม (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบสอบถามออนไลน์ แบบประเมินผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า เปลือกทุเรียนที่มีความเหมาะสมในการนำมาทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้สอย ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง โดยแปรรูปเป็นแผ่นกระดาษ (Papermaking) แผ่นไม้อัดขึ้นรูปด้วยความร้อน (Hot pressing) การทำเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ ด้วยการขึ้นรูปแบบอิสระ (Forming) ผลจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ด้วยการใช้แบบสอบถามพบว่า ผู้บริโภคนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ประเภทชั้นวางของมากที่สุด นิยมซื้อเครื่องใช้สอยประเภทกรอบรูปมากที่สุด    โดยการซื้อแต่ละครั้งนิยมซื้อ 2-3 ชิ้น มูลค่าการซื้อเฟอร์นิเจอร์มีราคา 1,001-3,000 บาท เครื่องใช้สอยมีราคาไม่เกิน 500 บาท       มีความชอบรูปแบบที่มีความเรียบง่ายมากที่สุด การใช้งานให้ความสนใจประโยชน์ใช้สอยหลากหลายมากที่สุด นิยมซื้อที่ร้านเฟอร์นิเจอร์มากที่สุด ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการซื้อมากที่สุดในเรื่องวัสดุคุณภาพเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการซื้อในอนาคตได้แก่ ชั้นวางของ ส่วนเครื่องใช้สอยที่ต้องการซื้อในอนาคตได้แก่ กรอบรูป ราคาของเฟอร์นิเจอร์ 1,001-3,000 บาท ราคาเครื่องใช้สอย 501-1,000 บาท โดยต้องการให้เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้สอยมีรูปร่าง รูปทรงเรียบง่ายมากที่สุด มีการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความแข็งแรงคงทน พื้นผิวควรมีลักษณะตามธรรมชาติของเนื้อวัสดุ ใช้การเคลือบใสหรือทำสีบนผิววัสดุ โดยสไตล์ของเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สอยในบ้านที่ผู้บริโภคสนใจมากที่สุดได้แก่ สไตล์มินิมอล (Minimal)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, จาก : http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf. 30 ตุลาคม 2563

ชมจันทร์ ดาวเดือน. (2561). ผลของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากหัตถกรรม ไม้แกะสลัก ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นสิริมงคลของคนไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2),177.

ทัดศรัณยา กลิ่นพินิจ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ยี่ห้อ INDEX ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : กรุงเทพมหานคร

นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศิรพร เต็งรังและคณะ. (2557). พลาสติกจากเปลือกทุเรียน, ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560, จากhttps://www.thairath.co.th/ content/455352.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สถิติการส่งออก. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก: http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2554&E_YEAR=2562&PRODUCT_GROUP=5252&PRODUCT_ID=4977&wf_search=&WF_SEARCH=Y. 20 พฤษภาคม 2563.