การศึกษาพื้นที่และออกแบบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียน ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพื้นที่และออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียน ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความต้องการของประชาชนต่อการให้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียนให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นการอนุรักษ์สุสานซากหอยโบราณให้เป็นอัตลักษณ์ของตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อออกแบบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียน ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างตำบลท่าพลที่มีต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียน ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10,183 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้นำหมู่บ้านตำบลท่าพล จำนวน 20 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนตำบลท่าพล จำนวนทั้งสิ้น 385 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนกลุ่มตัวอย่างตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ร้อยละ 96.10 มีความต้องการให้จัดทำโครงการปรับปรุงสวนสาธารณะหนองเคียนเพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและอนุรักษ์ซากหอยโบราณให้เป็นอัตลักษณ์ของตำบลท่าพล 2. การออกแบบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียน ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสรุปความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างและนำแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบสถาปัตยกรรม นำมาเขียนสร้างรูปโดยใช้โปรแกรมสร้างภาพสามมิติ รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ประกอบด้วย สวนสาธารณะ ภูมิทัศน์สุสานหอยโบราณ โคมไฟ ม้านั่งยาว และศาลาที่พัก โดยแต่ละรูปแบบมี 4 แบบ ได้แก่ แบบไทย แบบคลาสสิก แบบโมเดิร์น และแบบธรรมชาติ 3. ประชาชนกลุ่มตัวอย่างตำบลท่าพลมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะหนองเคียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง รูปแบบศาลาที่พัก มากที่สุดและพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างตำบลท่าพลมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง แบบธรรมชาติมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เดชา บุญค้ำ. (2547). สวนสาธารณะระดับมหานคร. เอกสารประกอบโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ในการดำเนินงาน
ภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.
พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์, พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ และศรัณยา สุจริตกุล. (2564). รูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของ
ข้าราชการกรณีศึกษากรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23 (1), 21-32.
พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิจักษณ์ หิญชีระนันทน์. (2565). รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของข้าราชการ
กรณีศึกษากรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 24 (1), 107-120.
พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิรานันท์ ยิ้มแฟน. (2565). รูปแบบสิ่งแวดลอมสรรคสร้างสำหรับนันทนาการของประชาชนตำบล
บ้านโคก กรณีศึกษาทุงทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา
สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16 (1), 182-194.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต.
กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2564). Phetchabun Geopark. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564, จาก
https://m.facebook.com/permalink.php?story_fbid
Jencks, Charles. (2011). The story of post-modernism : five decades of the ironic and critical
in Architecture. West Sussex : John Wiley & Son Ltd.
Tafuri, Manfredo. (1986). Modern architecture. New York : Electa/Rizzoli.