แผนที่วัฒนธรรมตามบริบทเชิงพื้นที่ของพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร และประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบกราฟิก และอัตลักษณ์ตามบริบทเชิงพื้นที่สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานออกแบบแผนที่วัฒนธรรมตามบริบทเชิงพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยวิธีวิจัยโดยการสํารวจทรัพยากรชุมชน สัมภาษณ์ สนทนากับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยการเลือกแบบเจาะจง ร่วมกับการเลือกแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) การสังเกตการณ์ในกิจกรรม วัฒนธรรม และประเพณีต่าง ๆ และการบันทึกภาพ ทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง สถานที่ และวัฒนธรรมที่ปรากฎตามคำขวัญประจำจังหวัด และการประเมินผลงานออกแบบด้วยแบบสอบถามโดยตัวอย่าง จำนวน 25 คน และนำเสนออัตลักษณ์ตามบริบทเชิงพื้นที่สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ การวางโครงร่างองค์ประกอบการออกแบบแผนที่วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เพื่อสื่อความหมายให้ง่ายต่อการรับรู้และการใช้งาน และมีคุณค่าเชิงรูปธรรม ได้แก่ เส้น ลวดลาย รูปลักษณ์รูปทรง สีสัน ตลอดจนพื้นผิวและวัสดุ และคุณค่าเชิงนามธรรม ได้แก่ ความซาบซึ้งในเรื่องราว คุณค่า ความหมายต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาของชุมชนเพื่อสื่อความในรูปแบบที่เป็นสากล ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ อารมณ์และโทนสี สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ จำนวน 1 รูปแบบ แผนที่วัฒนธรรม ประกอบด้วย 1) แผนที่วัฒนธรรมพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 รูปแบบ 2) แผนที่วัฒนธรรมไทยพื้นถิ่น จำนวน 1 รูปแบบ 3) แผนที่วัฒนธรรมไทย-จีน จำนวน 1 รูปแบบ 3) แผนที่วัฒนธรรมไทย-รามัญ จำนวน 1 รูปแบบ
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบกราฟิก และอัตลักษณ์ตามบริบทเชิงพื้นที่สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานออกแบบแผนที่วัฒนธรรมตามบริบทเชิงพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (Mean = 5.00 S.D.=0.00) รองลงมาเป็น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Mean = 4.96 S.D.=0.20) มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวตามวัตถุประสงค์ (Mean = 4.92 S.D.=0.28) จึงสามารถสรุปได้ว่า แผนที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อจัดการความรู้ทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ตอนล่าง จังหวัดสมุทรสาคร สามารถนำไปสู่การต่อยอดในการบริหารจัดการความรู้ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ซู่หลี่. (2562). การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรร้านอาหารเชิงวัฒนธรรมจีนสำหรับผู้บริโภควัยรุ่นชาวไทย. ศป.ม. (ทัศนศิลป์และการออกแบบ), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ดิฐา แสงวัฒนะชัย อำภา บัวระภา และเมทินี โคตรดี. (2560). การสร้างแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5), 34-43.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ปรีดี พิศภูมิวิถี และคณะ. (2561). สาครบุรี จากวิถีชาวบ้าน : การเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตท้องถิ่นในลุ่มน้ำท่าจีนจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
ปรีดาพร ไวทยการ. (2554). การออกแบบแผนที่ชุมชนเชิงวัฒนธรรม: การศึกษาความสัมพันธ์ของมิติเวลาและวิถีชีวิตชุมชนกาดหลวง จังหวัดเชียงใหม่. ศศ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ภาสกร คำภูแสน. (2552). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. ภ.สถ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์. (2560). การออกแบบสีภาพ และตัวอักษรอัตลักษณ์. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 2564, จาก https://graphic.bsru.ac.th/.
ศศิธร โตวินัส. (2554). การศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่มรดกทางสถาปัตยกรรมชุมชนรักษ์คลองบางพระ จังหวัดตราด. ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร. (2562). มรดกภูมิปัญญา พหุวัฒนธรรม ชาติพันธุ์. สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 2564, จาก https://www.m-culture.go.th/samutsakhon/ebook/B0009/index.html.
สืบพงศ์ จรรยสืบศรี อิศรา กันแตง และสุรพล มโนวงศ์. (2558). แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมอำเภอแมแจม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 29, 63-85.
อนุวัฒน์ การถัก และทรงยศ วีระทวีมาศ. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรม : ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิด และทิศทางการศึกษาวิจัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 1-12.