การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้แรงบันดาลใจจากลวดลาย “ขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากไหล ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้แรงบันดาลใจจากลวดลาย “ขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากต้นไหล ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมาเพื่อออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ตัวแทนกลุ่มแปรรูปเสื่อทอจากต้นไหล 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 3 คน และ ผู้ซื้อหรือบริโภค 50 คน จากนั้นนำข้อมูลมารวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นด้านลวดลายและการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการหาค่าเฉลี่ยตามหลักการวัดของลิเคทสเกลเพื่อสรุปข้อมูลผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ลายหงส์คู่ขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็นลวดลายที่เหมาะต่อการนำไปใช้เป็นลายทอบนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แปรรูปจากต้นไหลเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยค่าเฉลี่ยด้านความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลายอยู่ที่ (= 4.8) ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เหมาะต่อการนำมาแปรรูปเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ กระเป๋าคล้องแขน, กระเป๋าสะพายข้าง และ กระเป๋าสะพายไหล่ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและมียอดจำหน่ายมากกว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอื่นๆ ผลประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบจากผู้ซื้อหรือบริโภค 50 คน พบว่ามีความพึงพอใจในด้านการออกแบบที่สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ โดยมี
คะแนนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (= 4.94) และ มีความพึงพอใจในทุกๆด้าน อยู่ที่ (= 4.82) หมายถึง พึงพอใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2564). ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ. จาก https://www.cdd.go .th/content/640707-1. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2564.
ชมจันทร์ ดาวเดือน. (2558). การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีจากผ้าทอโบราณ บ้านผาทั่ง จังหวัดอุทัยธานี. คณะศิลปกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
หัฐณัฐ นาคไพจิตร. (2557). การประยุกต์ใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์เพื่อสื่อสารวัฒนธรรมอีสาน. คณะศิลปกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (16) ประเด็นเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2555). อัตลักษณ์ไทย ทุนความคิด ทุนสร้างสรรค์ : ผลการสำรวจศึกษาและสังเคราะห์อัตลักษณ์ไทย 4 ภูมิภาค. ปทุมธานี.
องค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งประดู่. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565. จากhttps://www.lungpradu.go.th
อัชชา หัทยานานนท์ และ ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเป๋าด้วยสิ่งทอเส้นใยและผืนผ้าจากต้นไหลตกแต่งเคลือบกันน้ำเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.