การออกแบบการจัดจานข้าวแช่เพชรบุรีให้มีอัตลักษณ์ศิลปะร่วมสมัย

Main Article Content

นราธร สัตย์ซื่อ
เจนจิรา อภิวัฒนสิริการ
ชยธร ปานบุษราคัม
ศิริรัตน์ บัวหลวง
เปี่ยมศักดิ์ ลมลอย

บทคัดย่อ

 การศึกษาเรื่องการออกแบบการจัดจานอาหารข้าวแช่เมืองเพชรให้มีอัตลักษณ์ศิลปะร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดจานข้าวแช่เมืองเพชร และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดจานข้าวแช่เมืองเพชร โดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการออกแบบการจัดจานอาหาร ออกแบบภาพร่างความคิดเมนูข้าวแช่เมืองพชรและด้านรูปแบบภาชนะการออกแบบจานอาหาร จำนวน 4 รูปแบบ ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาเลือก จากนั้นนำรูปแบบที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นชอบมากที่สุด มาจัดจานข้าวแช่เมืองเพชรนำเสนอ จำนวน 1 จาน นำไปสำรวจความพึงพอใจของของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจความพึงพอใจของบุคคลทั่วไป และรวบรวมแบบสอบถามเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อรูปแบบของ Sketch Design-A และผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18±0.08 โดยด้านการออกแบบโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4.26±0.06 ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4.16±0.11 ด้านคุณค่าและ ประโยชน์ใช้สอยโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4.20±0.01 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4.12±0.21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา ชูโชนาค. (2560). การพัฒนาดินปั้นจากโอเอซิสเหลือใช้สำหรับงานใบตอง (คศ.ม.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

พระนคร, กรุงเทพฯ.

กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย. (2557). การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึกจากเครื่องแขวนไทย (ค.อ.ม.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

จินดาวรรณ สิงคงสิน. (2558). ผู้จัดการรายวัน ฟูดสไตลิสต์ ผู้รังสรรค์ศิลปะบนจานอาหาร. กรุงเทพฯ: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

รายวัน.

ซูฟียา เจะอารง. (2547). การเชื่อมโยงสีกับสภาวะอารมณ์ของวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ตอนต้น (ศศ.ม.), จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ฐปนัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161-182.

นะกะวี ด่านลาพล. (2561). ศิลปะการจัดจานและออกแบบตกแต่งอาหารไทยฟิวชั่น. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(71), 1-13.

ประวิตร เปรืองอักษร. (2554). สัมภาษณ์วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 อ้างถึงใน ปฤณัต นัจนฤตย์ (2554)

ประสพชัย พสุนนท์, ณนนท์ แดงสังวา,ล จินพนธ์ ชุมเกตุ และกนกอร เนตรชู. (2564). เมืองเพ็ชรเมืองสามรส เพชรบุรีเมือง

สร้างสรรค์ด้านอาหารของ Unesgo. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยรัตน์ ปั้นลี้. (2567). จากจอบสู่จาน: เชฟส์เทเบิลการกินอย่างมีหลักการและภูมิทัศน์อาหาร ไทย. วารสารสังคมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 54(1), 168-191.

วรัญญู อินทรกำแพง. (2564). เพชรบุรีมีอะไรดี ทำไม เมือง 3 รส’ แห่งนี้จึงถูกยกขึ้นแท่นเมืองสร้างสรรค์ด้าน

อาหารล่าสุดของ UNESCO. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://thestandard.co/phetchaburi-unesco-

creative-cities-network/

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2560). การวิเคราะห์ผู้รับสารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 34(1), 168-187.

สักกฉัฐ ศิวะบวร. (2555). แนวคิด นวัตกรรมจากวัฒนธรรม วิถีการออกแบบขันเคลื่อนโลก. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวารม 2565, จาก

http://www.tcdc.or.th /src/16517/

เอกพล ศรีคงรักษ์. (2552). ศิลปะการจัดตกแต่งอาหารคาว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสำพันธ์กราฟฟิค จำกัด.

Bellingham, L and Bylee, J.A. (2008). Food stylist for Photographers a Guide to Creating Your Own

Apptizing Art. UK: Oxford University Press.

Oxford University. (2006). Oxford Word power Dictionary. UK: Oxford University Press.

Sarioglan, M. (2014). Fusion cuisine education and its relation with molecular gastronomy

education (comparative course content analysis). International Journal on New Trends in

Education and Their Implications, 5(3), 64-70.